แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลาดน้ำคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลาดน้ำคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลาดน้ำคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา วิธีการในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย การสำรวจพื้นที่ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้าง โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัย ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว ผู้นำชุมชน ผู้จำหน่ายสินค้าในชุมชน กำหนดเกณฑ์การเลือกใช้การเลือกแบบเจาะจง ควบคุมคุณภาพโดยการตรวจสอบแบบสามเส้า การวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลาดน้ำคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ผู้ให้ข้อมูลหลักมีความเข้าใจและมีความพร้อมในการจัดการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เนื่องทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยว ชุมชนมีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยเป็นแนวทางในการพัฒนาแหล่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเน้นไตรภาคี คือ ภาครัฐ เอกชน และท้องถิ่น คำนึงถึงอัตลักษณ์ของชุมชน รวมถึงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน แต่ก็ยังมีความต้องการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ประสบความสำเร็จและดำรงอยู่ต่อไปได้ในอนาคต
คำสำคัญ: แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ตลาดน้ำคลองแดน
Abstract
The research of Guidelines for the development of cultural tourism Klong Dan Floating Market Ra-nod District, Songkhla Province, as a qualitative research. Objective to study Guidelines for the development of cultural tourism Klong Dan Floating Market Ra-nod District, Songkhla Province. How to collect the data of survey of the area. Participatory observation and in-depth interview. Using a semi-structured questionnaire. The groups of key informants in research, including government agencies and business tourism, community leader, vendors in the community. The selection criteria used to select the specific. Quality control by monitoring by triangulation. Analysis of inductive analysis. Guidelines for the development of cultural tourism Klong Dan Floating Market Ra-nod District, Songkhla Province. The main information and understanding, and be ready in the management of community development, cultural tourism. Because everyone in the community participation in tourism management the community is the potential in the development of cultural tourism as a guide in the development of tourism resources cultural emphasis on tripartite is government. Private and local, consider the identity of the community. The conservation of art, culture and traditions, to achieve the sustainable tourism. But it also needs support from various agencies related to tourist cultural tourism, successful and continue in the future.
Keywords: Cultural Tourism, Klong Dan Floating Market