ทัศนคติและความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านการส่งออกจังหวัดนนทบุรีในการเข้าสู่ตลาดอาเซียน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้ประกอบการด้านการส่งออกของผู้ประกอบการในการเข้าสู่ตลาดอาเซียน 2) เพื่อศึกษาความพร้อมของผู้ประกอบการด้านการส่งออกในการเข้าสู่ตลาดอาเซียน และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมของผู้ประกอบการด้านการส่งออกในการเข้าสู่ตลาดอาเซียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้ทำทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวน 57,383 ราย การสุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการคัดเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) ซึ่งในการวิจัยในครั้งนี้ สามารถที่จะเก็บข้อมูลได้ 228 ราย คิดเป็นร้อยละ 70.5 เป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในธุรกิจการผลิต การบริการ และ ค้าส่งหรือค้าปลีก ในจังหวัดนนทบุรี เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม โดยได้ทำการตรวจสอบความตรง (Validity) ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.763 และตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.948 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test One-way ANOVA และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีระดับอายุที่อายุโดยเฉลี่ย 40.35 ปี ส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจค้าส่งหรือค้าปลีก และมีระยะเวลาในการดำเนินกิจการที่โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 9.13 ปีทัศนคติและความพร้อมของผู้ประกอบการด้านการส่งออกในการเข้าสู่ตลาดอาเซียน พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการส่งออกและประชาคมอาเซียน โดยเฉลี่ยจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ตอบถูก มีจำนวน 111 ราย คิดเป็นร้อยละ 48.71 ข้อที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตอบถูกมากที่สุดคือ ข้อใดเป็นผลความร่วมมือของอาเซียน ระดับความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสำหรับทัศนคติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีทัศนคติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นมากที่สุด คือ ความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถให้แก่ตนเอง เพื่อเป็นตัวเลือกที่ดีของตลาด ความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก กลุ่มตัวอย่างมีระดับความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมากที่สุด คือ มีความพร้อมในการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการที่จะเข้าแข่งขันในตลาดระดับอาเซียน ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ได้แก่ ทัศนคติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
คำสำคัญ: ทัศนคติ, ความพร้อม, ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, การส่งออก
Abstract
The purposes of this research were 1) to study the attitude of entrepreneurs for exporting,
2) to study the readiness of entrepreneurs for exporting, and 3) to investigate the factor influence toward readiness of entrepreneurs for exporting. The sample of this research was the entrepreneur in the area of Nonthaburi province, in total of 228 entrepreneurs. A questionnaire was used as the tool in this research. It was tested by using content validity analysis, which had level of IOC of 0.763, and reliability, which was 0.948. The samples were collected by using snowball sampling, which was distributing the questionnaire and 228 were returned that was 70.5 percent. A data was analyzed by using frequency, percentage, means, standard deviation, t-test, One-way ANOVA and Multiple Regressions.
The results was found that most respondents were male, the average age of 40.35 years old, mostly in wholesaling and retailing business, and in doing business for an average 9.13 years. An attitude and readiness of entrepreneurs for exporting toward ASEAN Community market, it was found that the level of knowledge of exporting and ASEAN community of respondents were answering correctly for 111 respondents, which was accounted for 48.71 percent, so the most correctly answer on which is the choice of collaborative of ASEAN Community. In addition, for the level of understanding of ASEAN community, it was found that the respondents had overall level of understanding at high level. Lastly, for attitude for changing, it was found that the respondents had overall attitude on the future changing at high level, so the most attitude for changing was on the highly necessity for increase the knowledge and self-capability for choosing a good market. The readiness towards ASEAN Community, it was overall found at the high level, so the respondents that had the most agreement was on the readiness for using computer or information technology in order to compete in the ASEAN market. Finally, the factor that influenced the readiness of entrepreneurs for exporting towards ASEAN Community was the attitude for changing.
Keywords: Attitude, Readiness, SME Entrepreneurs, Exporting