การวิเคราะห์ปัจจัยและจัดกลุ่มการเลือกบริโภคผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคจังหวัดนครปฐม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกบริโภคผักปลอดสารพิษ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยการเลือกบริโภคผักปลอดสารพิษ และ 3) เพื่อจัดกลุ่มปัจจัยการเลือกบริโภคผักปลอดสารพิษผู้บริโภคผักปลอดสารพิษ จังหวัดนครปฐม โดยการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคัดเลือกจากผู้ที่เคยบริโภคผักปลอดสารพิษเท่านั้น จำนวน 400 คน การวิเคราะห์องค์ประกอบหลักและหมุนแกนปัจจัยด้วยวิธี Varimax และการจัดกลุ่มการบริโภค โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์กลุ่มแบบ K-Means
ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21-30 ปี ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพทำธุรกิจส่วนตัว สถานภาพโสด เหตุผลที่รับประทานผักปลอดสารพิษเพราะตามกระแสและเป็นที่นิยม ตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง ความถี่ในการบริโภค 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ สถานที่ซื้อห้างสรรพสินค้า/ซุปเปอร์มาร์เก็ต ผู้บริโภครู้จักและรับรู้จากสื่อโทรทัศน์ ข้อมูลการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ราคา สถานที่จัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด บุคลากรพนักงาน ลักษณะกายภาพ และกระบวนการ อยู่ในระดับมาก ด้านการวิเคราะห์องค์ประกอบได้ 8 ปัจจัย ดังนี้ 1 ด้านอรรถประโยชน์ ปัจจัยที่ 2 ด้านลักษณะกายภาพ ปัจจัยที่ 3 ด้านกระบวนการ ปัจจัยที่ 4 ด้านบุคคล ปัจจัยที่ 5 ด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยที่ 6 ด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยที่ 7 ด้านราคา ปัจจัยที่ 8 ด้านความปลอดภัย และผลการจัดกลุ่มผู้บริโภคได้ 2 กลุ่ม เน้นอรรถประโยชน์ทางการตลาดร้อยละ 77.75 เน้นคุณภาพในการให้บริการร้อยละ 22.25
คำสำคัญ การเลือกบริโภคผักปลอดสารพิษ, การวิเคราะห์ปัจจัย, การวิเคราะห์กลุ่ม, พฤติกรรมผู้บริโภค
Abstract
This research aims to study 1) The behavior of consuming organic vegetables 2) To study the factors of consumption of organic vegetables. And 3) To classify the consumption factors of organic vegetable consumers, organic vegetable in Nakhon pathom. Using quota sampling data were collected by questionnaire. Choose from those who used to eat organic vegetables only. 400 mean, principal component analysis and rotary axis factors with the Varimax, and grouping consumption using group analysis techniques with K-Mean
The results showed that most are female, aged mostly between 21-30 years, bachelor’s degree, personal Business, single status, Because the reason for eating organic vegetables is popular. The person who influences the buying decision. The client itself, the frequency of consumption of 1-2 times per week. Consumers bought at department stores / supermarkets and the awareness of television. Consumer buying decision is product, price, place, promotion, physical appearance, personal and process in very level. Factors analysis of factor 8 as follows , Factor 1 the utility Factor 2 physical Factor 3 process Factor 4 personal Factor 5 product Factor 6 promotion Factor 7 price Factor 8 security The result of Cluster analysis consumers into 2 groups is focus on marketing utility. Focus on the quality of service and on price.
Keyword: Consumption of organic vegetables, Factors Analysis, Group Analysis, Consumer Behavior