การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อการสื่อความหมาย สำหรับเส้นทางศึกษาธรรมชาติ พื้นที่สถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์วังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

แสงสรรค์ ภูมิสถาน
วารุณี กันทากาศ
นันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์
ชาคริต ณ ตะกั่วทุ่ง

Abstract

บทคัดย่อ


             การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อการสื่อความหมายธรรมชาติที่ส่งเสริมให้ผู้มาเยือนได้เรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ในพื้นที่ และเป็นการพัฒนาแนวคิดการสื่อความหมายรูปแบบใหม่ที่แตกต่างจากการสื่อความหมายรูปแบบเดิมที่พบเห็นทั่วไปในพื้นที่ธรรมชาติ โดยทำการศึกษาบริเวณเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติขุนดงในพื้นที่สถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์วังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา โดยขั้นตอนในการศึกษามีทั้งหมด 3 ส่วนหลัก คือ 1) การออกแบบโปรแกรมสื่อความหมายธรรมชาติ โดยพิจารณาจากการประเมินศักยภาพของทรัพยากรนันทนาการในพื้นที่ 2) การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ และ 3) การทดสอบการทำงานของโปรแกรม โดยประเมินจากกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จำนวน 220 คน ผลการศึกษาในครั้งนี้ได้ออกแบบโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อการสื่อความหมายธรรมชาติ โดยกำหนดให้มีเมนูการใช้งาน 3 เมนูหลัก คือ 1) เมนูการระบุตำแหน่งในพื้นที่ 2) เมนูแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของสถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์วังน้ำเขียว และ 3) เมนูแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าฟังรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาได้โดยการสแกน QR code เพื่อเชื่อมต่อไปยังวีดิทัศน์ที่จัดทำขึ้น จากผลการประเมินความพึงพอใจโดยรวมต่อการทำงานของโปรแกรมประยุกต์ ผู้ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 3.95, SD = 0.65) และจากการพิจารณาความแตกต่างของค่าคะแนนหลังการชมวีดิทัศน์ (  gif.latex?\bar{x}  =9.49) มีค่ามากกว่าค่าคะแนนก่อนการชมวีดิทัศน์ ( gif.latex?\bar{x}   = 6.69) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 18.049,    P-value = 0.000) แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมประยุกต์ที่จัดทำขึ้นสามารถใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในพื้นที่ให้กับผู้มาเยือนได้มากยิ่งขึ้น สำหรับการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่อการใช้งานในอนาคต ควรพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ให้สามารถใช้งานบนระบบปฏิบัติการอื่นเพื่อให้สามารถใช้งานได้ทุกระบบปฏิบัติการ เช่น ระบบปฏิบัติการ iOS


 คําสําคัญ: เส้นทางศึกษาธรรมชาติ, โปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อการสื่อความหมาย, สถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์วังน้ำเขียว


  


Abstract


 This study aimed to develop mobile application for nature interpretation to encourage visitors to learn about natural resources in the area. This study introduced mobile application to add a new dimension for interpretation in natural environment. Khun Dong Nature Trail, located at Wang Nam Khiao Forest Research and Student Training Station, Nakhon Ratchasima Province, was selected for study area. The processes of this study comprised of three main parts. The first part, a nature interpretation program was designed based on recreational resource potential. The second part, interpretative mobile application for nature interpretation was developed. The third part, the effectiveness of nature interpretation program was investigated based on questionnaire survey of 220 samples. According to the behavior of visitors that frequently used smartphone, video with QR code has been applied for nature interpretation media. A mobile application consisted of three main functions including 1) location, 2) introduction of Wang Nam Khiao Forestry Research and Student Training Station, and 3) the details of Khun Dong nature trail. On the part of visitors’ satisfaction for application performance, the majority of users was very satisfied ( gif.latex?\bar{x}  = 3.95, SD = 0.65) with the program. For the effectiveness of nature interpretation program in increasing the knowledge on natural resources and ecosystem, the study indicated that the interpretation program contributed to respondents’ knowledge. The average posttest score ( gif.latex?\bar{x}  = 9.49, SD = 1.718) was statistically significantly higher than pretest score ( gif.latex?\bar{x}  = 6.69,  SD = 1.697) (t = 18.049, P-value = 0.000). For future implication, mobile application development should be developed for other operating systems such as the iOS.


 Keyword: nature trail, interpretative mobile application, Wang Nam Khiao Forestry Research and Student Training Station

Article Details

How to Cite
ภูมิสถาน แ., กันทากาศ ว., พงศ์พัฒนานุรักษ์ น., & ณ ตะกั่วทุ่ง ช. (2018). การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อการสื่อความหมาย สำหรับเส้นทางศึกษาธรรมชาติ พื้นที่สถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์วังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 12(28), 24–36. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/124124
Section
บทความวิจัย