การดำรงลักษณ์ทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมมอญกระทุ่มมืด อำเภอไทรน้อย ตำบลไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี: ภาคปฏิบัติการทางวาทกรรมสู่ความยั่งยืนของชุมชน

Main Article Content

กนกพร กระจ่างแสง
รองศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ ศิริวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการดำรงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมมอญกระทุ่มมืด สู่ความยั่งยืนของชุมชน อำเภอไทรน้อย ตำบลไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี  ด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมด้านตัวบท ภาคปฏิบัติการทางวาทกรรม และภาคปฏิบัติทางสังคม ว่ามีกระบวนการอย่างไร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์วาทกรรมตามแนวทางของแฟร์คลาฟ  ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกของคนในชุมชน ผู้นำชุมชน  หัวหน้าส่วนราชการในชุมชนบ้านกระทุ่มมืด อำเภอไทรน้อย ตำบลไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี  จำนวน 15 คน  ผลการศึกษาพบว่า ตัวบทการดำรงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมชาวมอญกระทุ่มมืด ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านวัฒนธรรมและประเพณี ด้านการแต่งกาย ด้านการดำรงชีพ  ด้านภาษาและการสื่อสาร เป็นความเชื่อที่ถูกถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ  ซึ่งความเชื่อส่วนใหญ่จะเป็นความเชื่อที่เกี่ยวกับโชคลาภที่สัมพันธ์กับการดำรงชีวิตตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ผลการวิเคราะห์ภาคปฏิบัติการทางวาทกรรมการดำรงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมมอญกระทุ่มมืด พบว่าชาวมอญกระทุ่มมืดให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษเป็นอย่างมากโดยถือปฏิบัติกันสืบต่อมาจากรุ่นสู่รุ่นรวมถึงด้านการแต่งกาย การดำรงชีพ ด้านภาษาและการสื่อสาร ทั้งนี้เพื่อดำรงอัตลักษณ์ของชาวมอญกระทุ่มมืดและเพื่อสนับสนุนการผลิตซ้ำ ซึ่งการผลิตซ้ำในชุมชนมอญกระทุ่มมืดเกิดขึ้นจากการสนับสนุนจากผู้นำชุมชนและผู้สูงอายุหรือผู้หลักผู้ใหญ่ในชุมชนที่เข้ามาผลักดันให้เกิดการอนุรักษ์และส่ง เสริมให้คนในชุมชนเห็นความสําคัญของวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของชาวมอญกระทุ่มมืด


 คำสำคัญ: การวิเคราะห์วาทกรรม, อัตลักษณ์, มอญกระทุ่มมืด, ความยั่งยืนของชุมชน


 


Abstract


 This research is qualitative research with a methodology to discourse analyze. The purpose of the research is to study the way ethnic and cultural identity Mon Katum meut. Sustainability of community Amphoe Sai Noi  , Sai Yai , Nonthaburi : The discourse analysis chapter. Practical mathematical discourse and social practice that process. This research is qualitative research using discourse analysis methods based on the guidelines of Norman Fairclough. With in-depth interviews of community leaders to community members, The head of Government in the community Ban Katum meut Amphoe Sai Noi, Sai Yai, Nonthaburi. The number of 15 persons to gather information on the above discourse analysis. The study found that the chapter on the ethnic and cultural identities Mon Katum meut.  Contains 4 aspects: cultural traditions and aspects of living side dress. Language and communication is being transmitted from the ancestors for many generations, from past to present. The most is the belief about the fortune associated with living since was ordained to the death. The practical working maintenance of ethnic identity and cultural discourse Mon Krathum meut. Mon Krathum meut to focus on the culture and tradition of the elders is a very common practice by holding the tradition from generation to generation, dressing, living language and communication. In order to establish the identity of the Mon Kratum Muet to support reproduction. Which is reproduced in the Mon Kratum muet place with the support of community leaders and the elderly or adult in the community who are pushing for conservation and encouraged  people in the community see the importance of the culture and identity of the Mon Krutum muet.


 Keyword: Discourse analysis, identity, Mon Kratum muet, Sustainable communities

Article Details

How to Cite
กระจ่างแสง ก., & ศิริวงศ์ ร. ด. (2018). การดำรงลักษณ์ทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมมอญกระทุ่มมืด อำเภอไทรน้อย ตำบลไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี: ภาคปฏิบัติการทางวาทกรรมสู่ความยั่งยืนของชุมชน. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 12(28), 11–23. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/124123
Section
บทความวิจัย