พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของชุมชนมุสลิมริมคลองบางกอกน้อย

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สำราญ ผลดี
อัรฮาวี เจ๊ะสะแม

Abstract

บทคัดย่อ


             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงภูมิหลังและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของชุมชนมุสลิมในพื้นที่ริมคลองบางกอกน้อย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร ประกอบกับข้อมูลจากภาคสนาม และนำเสนอผลการวิจัยโดยใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์


            ผลการวิจัยพบว่า บรรพบุรุษของชุมชนมุสลิมบางกอกน้อยคือกลุ่มคนมุสลิมที่อพยพมาจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อเสียกรุงฯ ครั้งที่ 2 โดยล่องแพลงมาตามลำน้ำเจ้าพระยาและมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บริเวณปากคลองบางกอกน้อยฝั่งใต้ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการใช้พื้นที่ของชุมชนเพื่อสร้างสถานีรถไฟบางกอกน้อย ส่งผลให้ชาวมุสลิมต้องย้ายข้ามฝั่งคลองบางกอกน้อยมาฝั่งเหนือ ชุมชนก็มีการขยายตัวออกไปมีทั้งที่อาศัยอยู่ในเรือนริมฝั่งคลอง รวมไปถึงในเรือนแพริมน้ำ ตั้งแต่ปากคลองเรื่อยไปจนถึงหน้าวัดสุวรรณาราม เมื่อครั้งสงครามมหาเอเชียบูรพามุสลิมบางกอกน้อยได้รับผลกระทบอย่างหนักส่งผลให้ชาวชุมชนกระจายตัวออกไปยังภายนอก แต่ส่วนหนึ่งก็ยังคงปักหลักสร้างชุมชนของตนเองขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันชุมชนมุสลิมบางกอกน้อยประกอบด้วย 2 ชุมชน คือ ชุมชนโดยรอบมัสยิดอันซอริซซุนนะห์และชุมชนสันติชนสงเคราะห์ 2 โดยมีโรงเรือพระราชพิธีและสะพานอรุณอัมรินทร์กั้นกลางอยู่ และยังคงเป็นชุมชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองสืบต่อมาจากอดีตเป็นชุมชนที่ยึดมั่นในศาสนาอิสลามนิกายซุนนีห์ โดยมีมัสยิดหลวงอันซอริซซุนนะห์เป็นศูนย์กลางของชุมชน


 คําสําคัญ: พัฒนาการทางประวัติศาสตร์, มุสลิม, บางกอกน้อย


 Abstract


             This research aims to study the background and historical development of the Muslim community in the Bangkok canal area. By analyzing data from documents with field data and presenting them in descriptive analysis. The research found that ancestors of the Bangkok Noi Muslim community are the people who migrated from Ayudhaya when the 2nd capital failed by Rafting down the Chao Phraya River and located at the mouth of the Bangkok Noi canal. Later in the reign of King Rama 5, the area of the community was used to build Bangkok Noi Railway Station. As a result, Muslims have to move across the bank of the Bangkok Noi canal to the north. The community has expanded to include residents living in canal side houses. Including the waterfront house raft from the beginning of the canal to the front of Wat Suwannaram. When the Great East Asia War Muslim Bangkok Noi has been badly affected, causing the community to spread outward. But part of it is still settling down to build their own community again. At present, the Bangkok Noi Muslim community consists of 2 communities, namely, the communities surrounding the Anishri Sunnah Mosque and Santisongkho 2 Community. There is a ceremonial boat barn and Arun Amarin Bridge. And still a community located next to the canals of the past. And hold on to Sunni Islam with the Grand Mosque of Anisar Sunnah as the center of the community.


 Keyword: historical development, Muslim, Bangkok Noi

Article Details

How to Cite
ผลดี ผ. ด., & เจ๊ะสะแม อ. (2018). พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของชุมชนมุสลิมริมคลองบางกอกน้อย. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 11(26), 81–90. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/110485
Section
บทความวิจัย