การออกแบบกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมและการประเมินผลการจัดกิจกรรมอบรมผลิตสื่อ วีดิทัศน์สารคดีทางวัฒนธรรมแก่นักเรียนในโรงเรียน จ.นครศรีธรรมราช
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบการจัดกิจกรรมอบรมการผลิตสื่อวีดิทัศน์สารคดีทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม และเพื่อประเมินผลการจัดกิจกรรมอบรม โดยมีโรงเรียนเป้าหมาย 5 โรงเรียน ใน จ.นครศรีธรรมราช โดยการออกแบบกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม คณะผู้วิจัยจะใช้การสนทนากลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ประกอบด้วย ครู นักเรียน ตัวแทนชุมชน และวิทยากร ประมาณ 5 - 8 คน ในแต่ละโรงเรียน สำหรับการประเมินผลหลังเสร็จการอบรม จะใช้แบบสอบถามประเมินระดับความพึงพอใจและการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งผลการวิจัย พบว่า รูปแบบและเนื้อหากิจกรรมที่จัดอบรมในแต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกันไปตามพฤติกรรมการรับสารและความพร้อมของนักเรียนผู้เข้าอบรม และความพร้อมของโรงเรียน สำหรับเนื้อหาการจัดกิจกรรมเพื่อผลิตและนำเสนอทางสื่อวีดิทัศน์นั้น กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต้องการให้สอดคล้องกับของดีของแต่ละอำเภอที่โรงเรียนตั้งอยู่และข้อมูลที่ทางโรงเรียนมีอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อประเมินผลการจัดกิจกรรมพบว่า นักเรียนผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจ และนำสิ่งที่ได้จากการอบรมไปใช้ประโยชน์ในระดับมากและมากที่สุด โดยมีสิ่งที่ประทับใจมากที่สุด คือ ความเป็นกันเองของคณะผู้จัดงาน สิ่งที่ควรปรับปรุงมากที่สุด คือ การเพิ่มเวลาในการจัดอบรม และส่วนใหญ่ต้องการให้จัดกิจกรรมในรูปแบบเดิม แต่ควรปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น
คำสำคัญ: การออกแบบกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม, การอบรมผลิตสื่อวีดิทัศน์สารคดีทางวัฒนธรรม, การประเมินผล
Abstract
This research aims to design training for documentary video production with participatory and to evaluate that training. The research has 5 schools in Nakhon Si Thammarat Province as target group. For designing training, the researchers use focus group with stakeholders; teachers, students, community people, trainers around 5-8 people per each school. After finishing training, the researchers use questionnaire for evaluating degree of satisfaction and degree of utilization. The research result is that pattern and content of activity in each school are different according to students’ media perception practice and readiness and school facility. For content to produce and disseminate documentary through video, in stakeholders’ opinion it should be from district’s good thing which those schools locate and existing information of each school. The training’s evaluation found that students’ satisfaction and degree of utilization is high and very high. The appreciation from training is friendship from organizing team; whereas, the thing which should be improved is increasing training time and most informants need same training pattern but improve weaknesses in the following trainings.
Keyword: Participatory Design, Documentary Video Production, Evaluation