การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติ ระหว่างวิธีสอนแบบเอสทีเอดี(STAD) กับแบบเอ็มไอเอพี (MIAP) รายวิชาการบัญชีการเงิน หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธนบุรี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้ แบบ STAD กับแบบ MIAP และเปรียบเทียบเจตคติของนักศึกษาต่อการเรียนรู้แบบ STAD กับแบบ MIAP ด้านทักษะกระบวนการ ด้านการมีกิจนิสัยที่ดี และด้านความสุขในการเรียน ในการเรียนรายวิชาการบัญชีการเงิน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธนบุรี ประชากรคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธนบุรี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการบัญชีการเงิน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 59 คน กลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีแบบหลายขั้นตอน แบ่งชั้นออกเป็น 5 ระดับตามเกรดเฉลี่ย คละตามความสามารถทางการเรียน และเพศ ในสัดส่วน 1: 1: 1: 1: 1 จัดแยกได้ 6 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน จำนวน 30 คน จัดให้เป็นกลุ่มทดลองเรียนรู้แบบ STAD และ 29 คน เป็นกลุ่มควบคุม เรียนรู้แบบ MIAP เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหัวข้อ 5. เรื่องการบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า และแบบวัดเจตคติการจัดการเรียนรู้แบบ MIAP และ แบบ STAD ในด้านทักษะกระบวนการ การพัฒนากิจนิสัย และความสุขในการเรียน แบบแผนการทดลองแบบสอบก่อน-สอบหลัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t–test ผลการวิจัย พบว่า
(1) ประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยรวม กลุ่มทดลองมีค่าE1/E2 สูงกว่ากลุ่มควบคุม และมีค่าร้อยละของดัชนีประสิทธิผล(EI) สูงกว่ากลุ่มควบคุม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการบัญชีการเงิน เรื่องการบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า โดยรวม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
(2) เจตคติของนักศึกษาต่อการเรียนรู้แบบ STAD กับแบบ MIAP จำแนกตามเพศ เกรดเฉลี่ยสะสม งานประจำที่ทำอยู่ และการส่งแบบฝึกหัด พบว่าตามเพศโดยรวม ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตามเกรดเฉลี่ยสะสม โดยรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตามงานประจำที่ทำอยู่ โดยรวม ไม่ต่างกัน ตามการส่งแบบฝึกหัด โดยรวม และด้านการพัฒนากิจนิสัยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ด้านทักษะกระบวนการและด้านความสุขในการเรียนโดยรวม ไม่ต่างกัน
คำสำคัญ: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีการเงิน, เจตคติต่อการเรียนวิชาการบัญชีการเงิน, การเรียนรู้แบบ STAD การเรียนรู้แบบ MIAP
Abstract
The objective of this research was to compare achievement during the learning STAD and MIAP model and compare the attitude of students towards learning through STAD and MIAP with the knowledge learning better in the process skills, existence of good behavior, and happiness in the studying from learning through STAD and MIAP in financial accounting courses, Business Computer Faculty of Business Administration Undergraduate courses Thonburi University. Population is the first year students in the computer business. Faculty of Business Administration Undergraduate Programs Thonburi University. Registration for courses in accounting and finance In the second semester of academic year 2558, a total of 59 people. Multi-Stage Random Sampling divide stratified into five levels based on GPA. Mixed by learning ability and gender ratio of 1: 1: 1: 1: 1 split into 6 groups of 5 people, 30 people arranged into groups was the experimental group and the control group was 29 people. The instrument used in this study was achievement test unit 5. Accounting for merchandising. and attitude of learning STAD MIAP and that has resulted in the acquisition process, developing work habits and the joy of learning. Plan for experiment used the Randomized Control Group Pretest - Posttest Design, data were analyzed using statistical t - test for Independent in difference score and dependent sample.
The research learning model STAD form of the treatment group and the control group MIAP found that
1) Overall the efficiency of learning activities (E1/E2) and percentage of effectiveness index (EI) the experimental group was higher than the control group. The achievement of the overall financial accounting course. The method of teaching model of STAD group average higher than teaching methods form MIAP control group difference was statistically significant level 0.05.
2) The attitude of students based on student characteristics including gender, grade point average, routine, and do the exercises. Delivered by sex, students' attitudes to learning are good overall in both sexes. Females have higher than average male. The difference was statistically significant 0.05. By GPA different grade point average in the knowledge learning better three side and overall did not differ significantly 0.05. BY routines that do exist have a positive attitude towards learning better side and the third overall did not differ significantly 0.05. By submitting exercises, the learning better overall, development work habits and overall attitude is different significant 0.05. The overall skill and happiness in the studying overall the attitude is different significant 0.05.
Keyword: The learning achievement of financial accounting, Attitude in studying financial accounting, The learning by STAD method, The learning by MIAP method.