กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษของผู้เรียนชาวไทยในยุคประเทศไทย 4.0

Main Article Content

รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงศรี สรณสถาพร

Abstract

บทคัดย่อ

 งานวิจัยแบบกรณีศึกษาชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยตรงของผู้เรียนชาวไทยในยุคประเทศไทย 4.0 ตัวอย่างประกอบด้วยอาจารย์แพทย์ที่เกษียณแล้ว และ มหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งหนึ่ง ได้มาด้วยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviews) ผลการวิจัยสรุปประเด็นที่สำคัญได้ดังต่อไปนี้ ตัวอย่างใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาโดยตรง (direct) ในการเรียนรู้ภาษา ซึ่งกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาโดยตรง ที่ตัวอย่างใช้มาก คือ กลยุทธ์การจำ (memory strategies) ใช้ในการจดจำความหมายของคำศัพท์ภาษาอังกฤษ และ กลยุทธ์ปริชาน (Cognitive strategies) ตัวอย่างทำการวิเคราะห์ ให้เหตุผล และ สรุปในเรื่องที่อ่าน  โดยการฝึกฝนการใช้ทักษะภาษาอังกฤษ 2 ทักษะ คือ ทักษะการอ่านและการฟังมากกว่าทักษะการเขียนและการพูด


 คำสำคัญ: กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยตรง, กลยุทธ์การจำ, กลยุทธ์ปริชาน


 Abstract


 The purpose of this case study was to explore direct language learning strategies of Thai learners in Thailand 4.0. Two subjects, one was a medical doctor and the other was a graduate student from one government university, were selected by purposive sampling technique. In-depth interviews were used as research tools. The research results revealed that both subjects used direct language learning strategies. They used memory strategies for memorizing vocabulary and meaning. They used cognitive strategies for summarizing, reasoning, and analyzing by practicing two skills: reading and listening.


 Keyword: Direct language Learning strategies, Memory Strategies, Cognitive Strategies

Article Details

How to Cite
สรณสถาพร ร. ด. (2017). กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษของผู้เรียนชาวไทยในยุคประเทศไทย 4.0. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 11(26), 9–23. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/110463
Section
บทความวิจัย