การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพตามแนวคิดเกษตรกรต้นแบบของเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Authors

  • ธวัชชัย เพ็งพินิจ
  • ธีระศักดิ์ ละม่อม

Keywords:

สิ่งแวดล้อม, ความหลากหลายทางชีวภาพ, ปราชญ์ชาวบ้าน, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพตามแนวคิดเกษตรกรต้นแบบของเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมาย คือ ปราชญ์ชาวบ้าน เกษตรกรต้นแบบ ผู้เชี่ยวชาญ และเกษตรกรเป้าหมายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะเวลา 12 เดือน จากการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบด้วย ปรับเปลี่ยนแนวคิด เน้นเกษตรประณีต (ทำตามกำลังเริ่มจากเล็กไปหาใหญ่ ใช้พื้นที่ให้คุ้มค่าทั้งใต้ดิน-บนดิน-บนอากาศ ปลูกทุกอย่างที่กิน-กินทุกอย่างที่ปลูก-เหลือกินแจก-เหลือแจกขาย ลดรายจ่ายสร้างรายรับ สร้างปัจจัย 4 เมื่อสำเร็จพื้นที่หนึ่งจึงขยายสู่พื้นที่ใหม่) สร้างหลักสูตรเรียนรู้ สร้างประสบการณ์ตรง มุ่งสู่การพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบด้วย เน้นเกษตรประณีต 1 ตารางเมตร ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน เกษตรกรเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมตามความสนใจ และเกษตรกรเป้าหมายเขียนแผนเกษตรประณีต

Downloads

How to Cite

เพ็งพินิจ ธ., & ละม่อม ธ. (2017). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพตามแนวคิดเกษตรกรต้นแบบของเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 11(3), 117–128. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/99376

Issue

Section

Original Articles