การเขียนดุษฎีนิพนธ์

Authors

  • ลิขิต ธีรเวคิน

Abstract

ดุษฎีนิพนธ์เป็นเอกสารที่พยายามพิสูจน์แก่นของข้อถกเถียง(CoreArgument-Thesis)ซึ่งเป็นพยานหลักฐานของความรู้องค์ความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์จนนำไปสู่ความรู้ใหม่ซึ่งเป็นเงื่อนไขของผู้ที่จะจบการศึกษาในระดับปริญญาเอกคำว่าดุษฎีนิพนธ์ภาษาอังกฤษใช้คำว่าDissertationซึ่งมีการให้ความหมายในดิกชันนารีว่าเป็นงานเขียนที่เสนอความคิดเห็นใหม่อันเกิดจากการวิจัยและโดยปกติงานเขียนนี้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการได้รับปริญญาดุษฏีบัณฑิตถ้าจะให้คำจำกัดความเช่นนี้ดุษฎีนิพนธ์จะต้องมี“ความคิดใหม่”และความคิดนี้จะต้องมีการพิสูจน์โดยข้อมูลหรือข้อเท็จจริงโดยได้มาจากการวิจัยซึ่งอาจจะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพหรือปริมาณแล้วแต่กรณีโดยอาจจะต้องใช้วิธีการเก็บข้อมูลในลักษณะต่างๆเช่นการเก็บข้อมูลในการทดลองแบบสอบถามสัมภาษณ์หรือใช้เอกสารที่มีอยู่แล้วและรวมถึงการเก็บข้อมูลจากการสังเกตวิธีการเก็บข้อมูลและวิจัยนั้นหาได้จากตำราการวิจัยทั่วๆไปแต่ที่จะกล่าวในที่นี้ก็คือความรู้เกี่ยวกับการวิจัยเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุดของการที่จะเขียนดุษฎีนิพนธ์

Downloads

How to Cite

ธีรเวคิน ล. (2017). การเขียนดุษฎีนิพนธ์. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 11(2), 1–8. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/78005

Issue

Section

Invitation