ภาวะผู้นำด้านองค์กรแห่งการเรียนรู้ และยุทธศาสตร์การสำรวจความคิดเห็น (poll) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางสังคมประชาธิปไตยไทย
Keywords:
ภาวะผู้นำ, องค์กรแห่งการเรียนรู้, สังคมประชาธิปไตยไทย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตAbstract
การวิจัยเรื่อง ภาวะผู้นำด้านองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในการใช้ยุทธศาสตร์ การสำรวจความคิดเห็น (Poll) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางสังคมประชาธิปไตยไทยของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับภาวะผู้นำด้านองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การสำรวจความคิดเห็น (Poll) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางสังคมประชาธิปไตยไทยของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 3) เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอรูปแบบของภาวะผู้นำด้านองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในการใช้ยุทธศาสตร์การสำรวจความคิดเห็น (Poll) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางสังคมประชาธิปไตยไทย ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
กล่าวได้ว่า ระเบียบวิธีวิจัยในครั้งนี้ได้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกในทุกระดับชั้นของผู้ถูกสัมภาษณ์จำนวน 34 คน ประกอบด้วยนักวิชาการ นักการเมืองผู้นำองค์กรเอกชน องค์กรอิสระ ผู้นำภาครัฐ และผู้นำทางศาสนาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษา ส่วนการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง จำนวน 421 คน โดยผสมผสานกับวิธีวิจัยและวิธีสัมภาษณ์อื่น ๆ นำมาใช้อย่างละเอียดรอบคอบ
ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำด้านองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ผู้นำต้องรู้เท่าทันสถานการณ์ พัฒนาตนเอง ปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเมือง สังคมและสิ่งแวดล้อม เข้าใจในสถานการณ์โลกทั้งในปัจจุบันและอนาคตองค์กรแห่งการเรียนรู้ควรส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคลากรทุกคนในองค์กร และมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรสามารถปรับตัวได้อย่างต่อเนื่องเพื่ออยู่รอดได้ในสังคมโลก ลักษณะขององค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตต้องมีกระบวนการที่ทำให้ทุกคนในองค์กรเป็นคนใฝ่เรียนรู้ บูรณาการการเรียนรู้ควบคู่กับการทำงานได้อย่างมีกลยุทธ์ โดยใช้เทคโนโลยีช่วยในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาภายใต้การบริหารโดยยึดหลักประชาธิปไตย
ด้านยุทธศาสตร์การสำรวจความคิดเห็น (Poll) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางสังคมประชาธิปไตยไทยของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต พบว่า สำนักโพลต้องไม่สังกัดพรรคการเมืองและไม่ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมืองหรือธุรกิจควรเป็นองค์กรที่มีเป้าหมายเพื่อดำเนินการทำโพลอย่างแท้จริงจึงจะได้รับการยอมรับและความน่าเชื่อถือในสังคมมีความพร้อมด้านบุคลากรและการทำโพลที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือจะต้องนำหลักวิธีการของการวิจัยเข้ามาใช้ทุกขั้นตอนตั้งแต่การกำหนดประเด็น การวางแผนการศึกษา การสร้างเครื่องมือ การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง การเก็บข้อมูล การประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลงาน สามารถนำเสนอข้อเท็จจริงมากที่สุด ทั้งความน่าเชื่อถือและความเป็นวิชาการ คำนึงถึงหลักวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่ครอบคลุมกลุ่มประชากร เก็บข้อมูลอย่างรัดกุมและถูกวิธีผลงานวิจัยต้องนำไปใช้ประโยชน์ได้ มีความเป็นกลาง น่าเชื่อถือ มีความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ และนำเสนอข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ตกเป็นเครื่องมือของการเมืองหรือภาคธุรกิจ มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ตรงกับความต้องการของสังคม มีการเผยแพร่ข่าวโดยผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย ครอบคลุมในทุกสื่อ และมีการทำโพลอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น ผลงานวิจัยดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้สามารถนำมาสรุปเป็นโมเดล (Model) ทางการวิจัยว่า From “The Daily Monitoring Public Opinion Poll” To “The Enlightening Future National Compass” จาก “เครื่องมือตรวจสอบประชามติสาธารณะรายวัน” สู่ “เข็มทิศส่องทางอนาคตของชาติอันเพ็ญพิสุทธิ์”