พลวัตการพัฒนาการกระจายอำนาจตัดสินใจสำหรับตัวแสดงท้องถิ่นในกระบวนการกำหนดโครงการเขื่อนขนาดใหญ่: ศึกษากรณีโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น

Authors

  • ชิตา สังข์แก้ว
  • โกวิทย์ พวงงาม

Keywords:

การกระจายอำนาจสมัยใหม่, การกระจายอำนาจตัดสินใจ, ตัวแสดงท้องถิ่น, การกำหนดโครงการเขื่อนขนาดใหญ่

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลวัตการพัฒนาการกระจายอำนาจตัดสินใจสำหรับตัวแสดงท้องถิ่นในกระบวนการกำหนดโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ช่วง 36 ปี (พ.ศ. 2520-2556) และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการพัฒนาและอุปสรรคต่อการกระจายอำนาจตัดสินใจสำหรับตัวแสดงท้องถิ่น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิควิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1) ตัวแสดงท้องถิ่นมีพลวัตการพัฒนาการกระจายอำนาจตัดสินใจในกระบวนการกำหนดโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น โดยมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทจากกลุ่มชายขอบการตัดสินใจ ไปสู่การเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจร่วมของการตัดสินใจขั้นต้นในโครงการ แต่ยังไม่สามารถเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจร่วมแบบทางการกับภาครัฐในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายของโครงการได้ 2) ปัจจัยการพัฒนาการกระจายอำนาจตัดสินใจสำหรับตัวแสดงท้องถิ่น ได้แก่ ก. ขีดความสามารถของตัวแสดงท้องถิ่นด้านการต่อสู้เพื่อจัดการความเสี่ยงต่อวิถีชีวิตและระบบนิเวศ การจัดการความรู้ท้องถิ่น และการเรียนรู้สิทธิของผู้รับผลกระทบทางลบจากโครงการ ข. การปฏิรูปนโยบายและกฎหมายเพื่อกระจายอำนาจตัดสินใจสำหรับตัวแสดงท้องถิ่น และ ค. แนวโน้มการพัฒนารูปแบบการตัดสินใจร่วมระหว่างตัวแสดงท้องถิ่นกับภาครัฐ 3) ปัจจัยอุปสรรคหลักที่สำคัญ ได้แก่ รัฐบาลไม่สนับสนุนนโยบายและกฎหมายการกระจายอำนาจตัดสินใจสำหรับตัวแสดงท้องถิ่น

Downloads

How to Cite

สังข์แก้ว ช., & พวงงาม โ. (2017). พลวัตการพัฒนาการกระจายอำนาจตัดสินใจสำหรับตัวแสดงท้องถิ่นในกระบวนการกำหนดโครงการเขื่อนขนาดใหญ่: ศึกษากรณีโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 11(1), 113–126. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/77982

Issue

Section

Original Articles