การพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุสองทางแบบมีตัวแปรส่งผ่านของศักยภาพด้านพหุวัฒนธรรมของนักศึกษา : การเปรียบเทียบ SEM แบบมีและไม่มีตัวแปรแฝง

Authors

  • นฤมล ธนการพาณิช

Keywords:

โมเดลเชิงสาเหตุสองทาง, ตัวแปรแฝงในโมเดลสมการโครงสร้าง, ศักยภาพด้านพหุวัฒนธรรม

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของศักยภาพด้านพหุวัฒนธรรมแบบสองทางของนักศึกษาที่มีตัวแปรส่งผ่าน และ 2) เปรียบเทียบอิทธิพลระหว่างตัวแปรในโมเดลที่วิเคราะห์ด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) แบบมีตัวแปรแฝงและแบบไม่มีตัวแปรแฝง ผู้วิจัยพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยจากการศึกษาวรรณกรรม ได้เป็นโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสองทางของศักยภาพด้านพหุวัฒนธรรมของนักศึกษา แบบมีตัวแปรส่งผ่าน ประชากรเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ชั้นปีที่ 1 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 1/2556 จำนวน 1,505 คน และตัวอย่างจำนวน 600 คน ได้มาโดยการเลือกจากประชากรด้วยวิธีสุ่มแบบง่าย การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วยการสอบถามข้อมูลภูมิหลัง แบบวัดมาตรประเมินค่าสำหรับวัดตัวแปรรวม 4 ตัวแปร คือ ศักยภาพด้านพหุวัฒนธรรม บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ เจตคติต่อพหุวัฒนธรรม และการเรียนรู้แบบมีวินัยในตนเองด้านพหุวัฒนธรรม มีค่าความเที่ยงสูง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง
     ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า 1) โมเดล SEM ที่สร้างขึ้น มีสองแบบ โมเดลมีตัวแปรแฝง และไม่มีตัวแปรแฝง ประกอบด้วยตัวแปรสังเกตได้ 15 และ 8 ตัวแปร ตามลำดับ เป็นโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบสองทางของ ศักยภาพด้านพหุวัฒนธรรมของนักศึกษา (competen) มีบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ (personality) เป็นตัวแปรแฝงภายนอก และมีตัวแปรส่งผ่าน คือ เจตคติต่อพหุวัฒนธรรม (attitude) และการเรียนรู้แบบมีวินัยในตนเองด้านพหุวัฒนธรรม (self_reg) โมเดลทั้งสองแบบสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ 2) ผลการวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบอิทธิพลระหว่างตัวแปรในโมเดล SEM แบบสองทาง ระหว่าง ก) โมเดลมีตัวแปรแฝง และ ข) โมเดลไม่มีตัวแปรแฝง พบว่า ผลการวิเคราะห์ทั้งสองโมเดลเหมือนกันในด้านความสามารถตอบคำถามวิจัยเดียวกันได้ ส่วนความต่าง คือ โมเดล ก มีความตรงสูงกว่า และให้ผลการวิเคราะห์ที่ละเอียดและมีความถูกต้องชัดเจนมากกว่าโมเดล ข ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์โมเดล ก เท่ากับ 0.769 สูงกว่าโมเดล ข เท่ากับ 0.461 ค่าขนาดอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม อิทธิพลรวม และค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในโมเดลซึ่งมีประเภทละ 9 คู่ สูงกว่าค่าในโมเดลไม่มีตัวแปรแฝง 6, 8, 8 และ 6 คู่ ตามลำดับ

Downloads

Published

2015-05-31

How to Cite

ธนการพาณิช น. (2015). การพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุสองทางแบบมีตัวแปรส่งผ่านของศักยภาพด้านพหุวัฒนธรรมของนักศึกษา : การเปรียบเทียบ SEM แบบมีและไม่มีตัวแปรแฝง. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 11(1), 53–74. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/77978

Issue

Section

Original Articles