การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบในแบบวัดความวิตกกังวลในการสอบคณิตศาสตร์: การเปรียบเทียบระหว่างไฮราชิคอลลิเนียร์โมเดล พาเชียลเครดิตโมเดลและเกรดเรสพอนส์โมเดล

Authors

  • ศิริรัตน์ สุคันธพฤกษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โชติกา ภาษีผล ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศิริชัย กาญจนวาสี ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ, ไฮราชิคอลลิเนียร์โมเดล, พาเชียลเครดิตโมเดล, เกรดเรสพอนส์โมเดล

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันในแบบวัดความวิตกกังวลในการสอบคณิตศาสตร์ โดยเปรียบเทียบระหว่างไฮราชิคอลลิเนียร์โมเดล พาเชียลเครดิตโมเดลและเกรดเรสพอนส์โมเดล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทย์-คณิต ปีการศึกษา 2552 จำนวน 1,715 คน จาก 29 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1 และเขต 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอ่างทองและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบยกชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดความวิตกกังวลในการสอบคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล 3 ขั้นตอน คือ    1) วิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบด้วย Hierarchical Linear Model: HLM โดยใช้โปรแกรม HLM      2) วิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบด้วย Partial Credit Model: PCM กับ Graded Response Model: GRM ด้วยโปรแกรม PARSCALE และ 3) เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบด้วย HLM โดยใช้โปรแกรม HLM กับ PCM กับ GRM ด้วยโปรแกรม PARSCALE ผลการวิจัย พบว่า ข้อคำถามที่ทำหน้าที่ต่างกันของข้อร่วมระหว่าง HLM, PCM และ GRM มี 6 ข้อ จาก 39 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 15.38 ข้อคำถามที่ทำหน้าที่ต่างกันของข้อร่วมระหว่าง HLM กับ PCM มี 7 ข้อ จาก 39 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 17.94 และข้อคำถามที่ทำหน้าที่ต่างกันของร่วมระหว่าง HLM กับ GRM    มี 9 ข้อ จาก 39 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 23.07

คำสำคัญ : การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ, ไฮราชิคอลลิเนียร์โมเดล, พาเชียลเครดิตโมเดล, เกรดเรสพอนส์โมเดล

 

Abstract

The objective of this research was to compare the Differential Item Functioning (DIF) detecting in A Mathematics Test Anxiety Scale between HLM, Partial Credit Model and Graded Response Model. The samples were 1,715 Mathayomsuksa 6 students who were studying in Math-science classes in 2009 academic year. Samples were drawn from 29 schools under the jurisdiction of the Pranakhon Sri Ayutthaya Educational Service Area Office 1 and 2, the Angthong Educational Service Area Office, and the Nonthaburi Educational Service Area Office using cluster random sampling technique. Data were collected by The Mathematics Test Anxiety Scale. There were three steps of data analysis: 1) the analysis of DIF by Hierarchical Linear Model: HLM using HLM program 2) the analysis of DIF by Partial Credit Model: PCM and Graded Response Model: GRM using PARSCALE 3) the comparison of results of analysis between HLM using HLM program and PCM and GRM using PARSCALE. The major findings were: The results from DIF examination detected 6 common items from 39 items between HLM, PCM and GRM (15.38%), 7 common from 39 items between HLM and PCM (17.94%) and 8 common items from 39 items between HLM and GRM (23.07%).

Keywords : Differntial Item Functioning, Hierarchical Linear Model, Partial Credit Model, Graded Response Model

Downloads

How to Cite

สุคันธพฤกษ์ ศ., ภาษีผล โ., & กาญจนวาสี ศ. (2013). การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบในแบบวัดความวิตกกังวลในการสอบคณิตศาสตร์: การเปรียบเทียบระหว่างไฮราชิคอลลิเนียร์โมเดล พาเชียลเครดิตโมเดลและเกรดเรสพอนส์โมเดล. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 7(1), 113–128. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5192

Issue

Section

Original Articles