การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการสอนตามแนวคอนสตรัคติวิซึมกับการสอนแบบสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่ม

Authors

  • สมกมล กาญจนพิบูลย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทนรวิโรฒ

Keywords:

สังคมศึกษา, การคิดวิเคราะห์, คอนสตรัคติวิซึม, สืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่ม, social studies, analytical thinking, constructivism, group investigation

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนตามแนวคอนสตรัคติวิซึมกับการสอนแบบสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่ม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่มี 3 โรงเรียนวัดนวลนรดิศภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 มีนักเรียน จำนวน 478 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดนวลนรดิศภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 100 คน โดยได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) กลุ่มทดลองที่ 1 จำนวน 50 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิซึม และกลุ่มทดลองที่ 2 จำนวน 50ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่ม ในการดำเนินการทดลองครั้งนี้ ใช้แบบการวิจัยแบบ Randomized Group Pretest – Post test Design เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบทดสองวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น .72 และแบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีค่าความเชื่อมั่น .75 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t – test ในรูปผลต่างของคะแนน (Difference Score) ผลการวิจัยพบว่า  1.  นักเรียนที่เรียนสังคมศึกษาโดยการสอนตามแนวคอนสตรัคติวิซึมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  2. นักเรียนที่เรียนสังคมศึกษาโดยการสอนแบบสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่มมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  3. นักเรียนที่เรียนสังคมศึกษาโดยการสอนตามแนวคอนสตรัคติวิซึมมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  4. นักเรียนที่เรียนสังคมศึกษาโดยการสอนแบบสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่มความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  5. นักเรียนที่เรียนสังคมศึกษาโดยการสอนตามแนวคอนสตรัคติวิซึมกับแบบสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่มมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  6. นักเรียนที่เรียนสังคมศึกษาโดยการสอนตามแนวคอนสตรัคติวิซึมกับการสอนแบบสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่มมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

คำสำคัญ : สังคมศึกษา, การคิดวิเคราะห์, คอนสตรัคติวิซึม, สืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่ม

 

Abstract

The purpose of this research was to compare learning achievement of social studies with analytical thinking based on a group investigation model and constructivism approach of Matthayomsuksa three Students. The population used in this research were 478 Matthayomsuksa three students at Wat Nuanoradit School in the second semester of the 2010 academic year. The samples used in this research were 100 Matthayomsuksa three students at Wat Nuanoradit School in the second semester of the 2010 academic year. The researcher used the simple random sampling, The samples were divided into two group; The first experimental group 50 person treated by using was constructivism approach; whereas the second experimental group 50 person treated by using was through group investigation model. The Randomized Group Pretest - Posttest Design was used in the study. The social studies achievement test was 0.72 , the reliability of analytical thinking test this was the reliability of 0.75, and the t – test (Difference Score) was the used for data analysis. The results of this study indicated that:  1. The students’ social studies achievement after using a constructivism approach was higher significant than the score of the pre-test at the .01 level.  2. The students’ social studies achievement after using a group investigation model was higher significant than the score of the pre-test at the .01 level.  3. The students’ analytical thinking ability after using a constructivism approach was significantly higher than the score of the pre-test at the .01 level.  4. The students’ analytical thinking ability after using a group investigation model was higher significant than the score of pre-test at the .01 level.  5. There was not a significant different in analytical thinking ability through a constructivism approach and through group investigation model. 6. There was not a significantly different in social studies achievement through a constructivism approach and through group investigation model.

Keywords : social studies, analytical thinking, constructivism, group investigation

Downloads

How to Cite

กาญจนพิบูลย์ ส. (2013). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการสอนตามแนวคอนสตรัคติวิซึมกับการสอนแบบสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่ม. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 7(1), 77–88. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5179

Issue

Section

Original Articles