ความต้องการการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรธุรกิจโรงแรม ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • นิตยา ทวีชีพ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • พัชรินทร์ กีรติวินิจกุล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • วรรณวิภ จัตุชัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Keywords:

ความต้องการการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร, ศักยภาพ, ธุรกิจโรงแรม, Requirement of Personnel Potential Development, Potential, Hotel Business

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรธุรกิจโรงแรม 2) เปรียบเทียบความต้องการการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรธุรกิจโรงแรม จำแนกตามสถานภาพส่วนตัวของบุคลากร และ 3) หาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรธุรกิจโรงแรม  ดำเนินการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  ประกอบด้วย รองอธิการบดีที่ได้รับมอบหมายในการบริหารงานของธุรกิจโรงแรม/ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ/รองผู้จัดการ/ผู้ช่วยผู้จัดการ และหัวหน้างาน/หัวหน้าฝ่าย  โรงแรมละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 15 คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรธุรกิจโรงแรม จำนวน 147 คน เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามความต้องการการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรธุรกิจโรงแรม  ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับตามวิธีของครอนบาค เท่ากับ .84  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติทดสอบ ที (t – test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  (One  -  way  ANOVA)  และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffé method)

ผลการวิจัยพบว่า

1.  ความต้องการการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรธุรกิจโรงแรม ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับแรกคือ ด้านทัศนคติ รองลงมาคือ ด้านความรู้ และด้านทักษะ อยู่ในระดับมาก

2. การเปรียบเทียบความต้องการการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรธุรกิจโรงแรม พบว่า  1) บุคลากรธุรกิจโรงแรมที่มีเพศต่างกัน  มีความต้องการการพัฒนาศักยภาพ ในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความต้องการการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความต้องการการพัฒนาศักยภาพด้านทักษะ และด้านทัศนคติ ไม่แตกต่างกัน 2) บุคลากรธุรกิจโรงแรมที่มีอายุและตำแหน่งในการปฏิบัติงานต่างกัน มีความต้องการการพัฒนาศักยภาพ ในภาพรวมและรายด้านทุกด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) บุคลากรธุรกิจโรงแรมที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความต้องการการพัฒนาศักยภาพ ในภาพรวม  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความต้องการการพัฒนาศักยภาพด้านทักษะ  และด้านทัศนคติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านความรู้  ไม่แตกต่างกัน 4) บุคลากรธุรกิจโรงแรมที่มีประสบการณ์ในการทำงานโรงแรมต่างกัน มีความต้องการการพัฒนาศักยภาพ ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  5) บุคลากรที่มีรายได้ส่วนบุคคลต่อเดือนต่างกัน มีความต้องการการพัฒนาศักยภาพ  ในภาพรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3.  แนวทางในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรธุรกิจโรงแรม คือ ธุรกิจโรงแรมควรจัดให้บุคลากรได้รับการอบรมทั้งระยะสั้นและระยะยาว จัดให้มีการไปสัมมนาทุก 3 - 6 เดือน ในการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับสายงานที่ปฏิบัติ อาทิเช่น จัดให้เรียนภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้การให้บริการที่ดี การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น หรือจัดหาวิทยากร/ผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้านมาให้ความรู้แก่พนักงานในโรงแรม  จัดให้พนักงานร่วมคิดร่วมจัดกิจกรรมตามความถนัดของตน และมีการจัดส่งไปศึกษาดูงานเพิ่มเติมทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงมีการติดตามประเมินผลหลังจากที่ส่งไปอบรมหรือสัมมนาอย่างต่อเนื่อง

คำสำคัญ : ความต้องการการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร, ศักยภาพ, ธุรกิจโรงแรม

 

Abstract

The principal objectives of this study are as follows: 1) To study the need of the proficiency development in the hotel personnel of Rajabhat Universities in Bangkok; 2) To compare the need of the proficiency development in hotel personnel according to their personal identity, and 3) To search for some possible ways to develop hotel personnel’s proficiency. The study employed the Mixed Research Method to elicit and analyze data qualitatively including the intensive interview with the Vice Presidents of each Rajabhat University responsible for the hotel administration, hotel executives and the supervisor of each division. The intensive interview was used with 3 leading staff from each hotel and the total number of the informants is 15. The data was scrutinized by means of the content analysis and quantitative research method. The important instrument used to collect data is the questionnaire concerning the need of the proficiency development in hotel personnel. The informants are 147 hotel personnel. The entire questionnaire has its reliability according to the Cronbach Method that is .84.  Statistic used to analyze data in this study  includes percentage, standard deviation, T-Test, One-way ANOVA analysis, and Scheffé method.

The results of this study are as follows:

1) The need of the proficiency development in hotel personnel is high as a whole. However, as the need of the proficiency development is examined by each aspect in particular, the data shows that the most frequent aspect that the hotel personnel need to develop is attitudinal development and the need of the skill and knowledge is relatively high.

2) The result of the study in terms of the comparison of the need of the hotel personnel’s proficiency development categorized by personal status is as follows: 1) The genders of the informants do not affect the need of the proficiency development as a whole. To examine the need of the proficiency development in each aspect, it can be seen that the need of the proficiency development to obtain knowledge is significantly different at the level of .05, but the need in the professional skills and attitudinal development are not different.; 2) The hotel personnel with different age and duties need to develop their proficiency indifferently in all aspects.; 3) Hotel personnel with varieties of education background need to develop their proficiency in general with insignificant differences at the level of .05; however,  the result of the study shows that the need in professional skills and attitudinal development are significantly different at the level of 0.05. However,  the need of the proficiency development to obtain knowledge is not different in particular. ; 4) The need of the proficiency development of the hotel personnel with different work experiencesin an overall picture is significantly different at the level of .001. It is found that every inspected aspect is significantly different at the level of .015., and 5) The need of the proficiency development of the hotel personnel with different personal monthly income is significantly different at the level of .05 as in general and categorical inspection.

3) Some possible ways to develop hotel personnel’s proficiency suggested in this study are providing short or long training courses, arranging a seminar in every 3 – 6 months to obtain more knowledge in relation with their duties, such as, providing constant English courses, learning how to provide good services, using information technology and effective communication, etc. Moreover, it is possible to have skilled guest speakers, experts to train and develop hotel personnel’s proficiency. Hotel personnel may help create some stimulated activities or participate in some activities according to their own interest. The result of the study suggested that hotel personnel may be able to have the study tours inside the country or even abroad. The last suggested way to develop hotel personnel’s proficiency is evaluating all training courses or seminars continuously and critically.

Keywords : Requirement of Personnel Potential Development, Potential, Hotel Business

Downloads

How to Cite

ทวีชีพ น., กีรติวินิจกุล พ., & จัตุชัย ว. (2013). ความต้องการการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรธุรกิจโรงแรม ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 7(1), 11–22. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5159

Issue

Section

Original Articles