การรับรู้และพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อสัญลักษณ์การจัดแบ่ง ประเภทรายการโทรทัศน์

Authors

  • พรรณประวีร์ ยอดวิเศษ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • สุพิชา บ้านชี อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Keywords:

การรับรู้ของผู้ปกครอง, พฤติกรรมของผู้ปกครองต่อสัญลักษณ์การจัดแบ่งประเภทรายการ

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ และพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อสัญลักษณ์การจัดแบ่งประเภทรายการโทรทัศน์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ และพฤติกรรมต่อสัญลักษณ์การจัดแบ่งประเภทรายการโทรทัศน์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจกับกลุ่มผู้ปกครองของเด็กที่มีอายุระหว่าง 2-6 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .78 ถึง .80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที ค่าเอฟ การวิเคราะห์ข้อมูลแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้และความสามารถเข้าใจถึงสัญลักษณ์การจัดแบ่งประเภทรายการโทรทัศน์อยู่ในระดับสูง และสามารถอธิบายถึงสัญลักษณ์การจัดแบ่งประเภทรายการโทรทัศน์แบบต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง 2) พฤติกรรมของผู้ปกครองต่อสัญลักษณ์การจัดแบ่งประเภทรายการโทรทัศน์ พบว่า ผู้ปกครองอนุญาตให้เด็กดูโทรทัศน์ ในวันธรรมดาเฉลี่ย 1-3 ชั่วโมง และในวันหยุดมากกว่า 3 ชั่วโมง รายการโทรทัศน์ที่ผู้ปกครองอนุญาตให้เด็กดูได้ 3 อันดับแรก ได้แก่ การ์ตูน รายการสำหรับเด็ก และ เกมโชว์สำหรับเด็ก และสัญลักษณ์รายการที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อนุญาตให้เด็กดูได้ คือ สัญลักษณ์ ป รายการสำหรับเด็กปฐมวัย ในขณะที่สัญลักษณ์ที่กลุ่มตัวอย่างไม่อนุญาตให้ดูรายการนั้นเลย ได้แก่ สัญลักษณ์ ฉ เฉพาะผู้ใหญ่ สำหรับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการดูโทรทัศน์กับเด็ก ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดูโทรทัศน์แบบพูดคุย(Active Mediate) แบบควบคุม (Restrictive Mediate) และ แบบดูโทรทัศน์ด้วยกัน (Co Viewing) 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สัญลักษณ์การจัดแบ่งประเภทรายการโทรทัศน์กับพฤติกรรมของผู้ปกครองในการชมรายการโทรทัศน์ของเด็ก พบว่า การรับรู้ต่อสัญลักษณ์การจัดแบ่งประเภทรายการโทรทัศน์ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และพฤติกรรมการให้คำแนะนำในการชมโทรทัศน์ของเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

คำสำคัญ : การรับรู้ของผู้ปกครอง  พฤติกรรมของผู้ปกครองต่อสัญลักษณ์การจัดแบ่งประเภทรายการ

 

Abstract

This research aimed to study perceptions and behaviours of parents towards television program classification logos and to study relationships between such perceptions and behaviours towards television classification logos by conducting the survey research on 400 parents of children aged between 2-6 years old within Bangkok metropolitan area. The research instrument used was a questionnaire with reliability coefficients of .78 to .80. The statistical procedures used in data analysis were the percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, one-way ANOVA, pair-wise comparison, and Pearson’s product-moment correlation. The finding of this research revealed that: 1) the sample group’s perception and ability to comprehend television classification logos were at the high level and the sample group was able to correctly explain different television program classification logos; 2) regarding the behaviours of the children’s parents towards television classification logos, it was found that the parents would allow children to watch television during weekdays on the average of 1–3  hours per day and during holidays for more than three hours; the  top three television programs that the parents would allow children to watch were cartoons, children’s programs, and children’s game shows; the television classification logo that the majority of parents in the sample group allowed children to watch was the logo “ป” which stands for early childhood program, while the television classification logo that they would not allow children to watch at all was the logo “ฉ” which stands for adults only; as for the parents’ behaviours of watching television programs with children, most parents would engage in active mediation, restrictive mediation, and co–viewing behaviours; and 3) regarding the correlation between the parents’ perception on television classification logos and the parents’ behaviours toward their children’s television viewing behaviours, it was found that the parents’ perception of television classification logos had positive correlations with their behaviours of viewing television together with their children and with their behaviours in giving advices to their children on viewing television at the .05 level of statistical significance.

Keyword: Perceptions of Parents, Behaviors of Parents towards Television Classification Logo

Downloads

How to Cite

ยอดวิเศษ พ., & บ้านชี ส. (2013). การรับรู้และพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อสัญลักษณ์การจัดแบ่ง ประเภทรายการโทรทัศน์. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 7(2), 105–116. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5146

Issue

Section

Original Articles