การเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้วิชาเขียนแบบ เรื่อง การเขียนภาพไอโซเมตริกและภาพออบลิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับแบบปกติ

Authors

  • ฉลอง ไตรแสง สาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

Keywords:

เขียนแบบ, เพื่อนช่วยเพื่อนปกติ, drawing, peer tutoring, conventional method

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเขียนแบบ เรื่อง  การเขียนภาพไอโซเมตริกและภาพออบลิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับแบบปกติ 2) เปรียบเทียบทักษะการเขียนแบบ เรื่อง การเขียนภาพไอโซเมตริกและภาพออบลิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับแบบปกติ 3) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชา เขียนแบบ เรื่อง การเขียนภาพไอโซเมตริกและภาพออบลิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ที่เรียนวิชาเขียนแบบ จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 60 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เฉพาะผู้ที่เลือกเรียนวิชาเขียนแบบ และสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) โดยการจับสลากแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาเขียนแบบ โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน 2) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาเขียนแบบ โดยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.865 4) แบบทดสอบภาคปฏิบัติ 5) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาเขียนแบบ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.840 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และสถิติทดสอบที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า

1.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเขียนแบบ เรื่อง การเขียนภาพไอโซเมตริกและภาพออบลิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนสูงกว่าแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.  ทักษะการเขียนแบบ เรื่อง การเขียนภาพไอโซเมตริกและภาพออบลิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนสูงกว่าแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.  เจตคติต่อการเรียนวิชาเขียนแบบ เรื่อง การเขียนภาพไอโซเมตริกและภาพออบลิกของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนสูงกว่าแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ : เขียนแบบ, เพื่อนช่วยเพื่อนปกติ

 

Abstract

The objectives of this research were to 1) compare Mathayomsuksa 3 students drawing learning achievement in the Isometric and Oblique between using the Peer Tutoring and the Conventional Method. 2) compare drawing skills in the Isometric and Oblique between using the Peer Tutoring and the Conventional Method. 3) compare the attitude towards drawing learning in the Isometric and Oblique between using the Peer Tutoring and the Conventional Method. The 60 Samples were Mathayomsuksa 3 students, divided into equal groups, the experimental group and the control group, during the second semester of the 2010 academic year form Khuruprachasan School, Sankaburi District, Chainat Province. They were selected by purposive sampling and by simple random sampling. The instruments used consisted of 1) a learning management plan 0f drawing subject in the Isometric and Oblique using the Peer Tutoring, 2) a learning management plan of drawing subject in the Isometric and Oblique using the Conventional Method, 3) a learning achievement test which had a reliability rating of 0.865, 4) a practice test, and 5) an attitude test towards drawing learning which had a reliability rating of 0.840. The data was analyzed to calculate mean (\bar{x}), standard deviation (S.D.), and t-test.

The findings were as follows:

1.  The drawing learning achievement in the Isometric and Oblique of Mathayomsuksa 3 students using the Peer Tutoring was higher than that using the Conventional Method at a .01 level of statistical significance.

2.  The drawing skills in the Isometric and Oblique of Mathayomsuksa 3 students using the peer tutoring was higher than that using the Conventional Method at a .01 level of statistical significance.

3.  The attitude towards Drawing learning in the Isometric and Oblique of Mathayomsuksa 3 students using the Peer Tutoring was higher than that using the Conventional Method at a .01 level of statistical significance.

Keyword :  drawing, peer tutoring, conventional method

Downloads

How to Cite

ไตรแสง ฉ. (2013). การเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้วิชาเขียนแบบ เรื่อง การเขียนภาพไอโซเมตริกและภาพออบลิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับแบบปกติ. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 7(3), 177–188. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5110

Issue

Section

Original Articles