การวางแผนการผลิตทางการเกษตรโดยใช้แบบจำลองโปรแกรมเชิงเส้น ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร

Authors

  • พลกฤช ตันติญานุกูล คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

Keywords:

แบบจำลองโปรแกรมเชิงเส้น, แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง, การวางแผนการผลิตทางการเกษตร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการวางแผนการผลิตทางการเกษตร โดยใช้แบบจำลองสมการเชิงเส้นตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์หารูปแบบการวางแผนการผลิตทางการเกษตร และศึกษาผลการทดลองนำแผนการผลิตทางการเกษตรไปประยุกต์ใช้กับเกษตรกรที่มีที่ดินทำการผลิตเป็นของตนเอง ในพื้นที่ตำบลเกษตรพัฒนา จังหวัดสมุทรสาคร และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อทดลองใช้แผนการผลิตทางการเกษตรโดยใช้แบบจำลองโปรแกรมเชิงเส้นตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงแบบเจาะจง (purposive sampling) จากเกษตรกรที่มีความประสงค์และสมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัยจำนวน 2 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนแรกซึ่งได้ข้อมูลมาจากการสืบค้นจากแหล่งต่างๆ ใช้วิธีการสร้างแบบจำลองโปรแกรมเชิงเส้น (linear programming)      เพื่อวิเคราะห์หาแผนการผลิตที่เหมาะสมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ข้อมูลส่วนที่สองซึ่งได้มาจากการสอบถามและสัมภาษณ์ ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (descriptive analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1) การวางแผนการผลิตทางการเกษตรที่เหมาะสม โดยใช้แบบจำลองโปรแกรมเชิงเส้น ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง แบ่งออกเป็น 5 กรณี คือ 1.1) กรณีมีแรงงานในครัวเรือน 1 คน ใช้ที่ดินขนาด 2 ไร่ ใช้เงินทุน 23,489 บาท ใช้แรงงาน 927 ชั่วโมง ใช้น้ำ 2,505 ลูกบาศก์เมตร เกษตรกรได้รับรายได้เหนือต้นทุนเงินสด เท่ากับ 88,435 บาท 1.2) กรณีมีแรงงานในครัวเรือน 2 คน ใช้ที่ดินขนาด 3 ไร่ ใช้เงินทุน 30,080 บาท ใช้แรงงาน 1,025 ชั่วโมง ใช้น้ำ 3,818 ลูกบาศก์เมตร เกษตรกรได้รับรายได้เหนือต้นทุนเงินสด เท่ากับ 156,400 บาท 1.3) กรณีมีแรงงานในครัวเรือน 3 คน ใช้ที่ดินขนาด 4 ไร่ ใช้เงินทุน 40,267 บาท ใช้แรงงาน 1,189 ชั่วโมง ใช้น้ำ 5,045 ลูกบาศก์เมตร เกษตรกรได้รับรายได้เหนือต้นทุนเงินสด เท่ากับ 227,193 บาท 1.4) กรณีมีแรงงานในครัวเรือน 4 คน ใช้ที่ดินขนาด 5 ไร่ ใช้เงินทุน 41,498 บาท ใช้แรงงาน 1,297 ชั่วโมง ใช้น้ำ 8,127 ลูกบาศก์เมตร เกษตรกรได้รับรายได้เหนือต้นทุนเงินสด เท่ากับ 260,858บาท และ 1.5) กรณีมีแรงงานในครัวเรือน 5 คน ใช้ที่ดินขนาด 6 ไร่ ใช้เงินทุน 44,237 บาท ใช้แรงงาน 1,342 ชั่วโมง ใช้น้ำ 8,661 ลูกบาศก์เมตร เกษตรกรได้รับรายได้เหนือต้นทุนเงินสด เท่ากับ 315,110 บาท

2) การนำแผนการผลิตทางการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้แบบจำลองโปรแกรมเชิงเส้นไปประยุกต์ใช้กับเกษตรกรในพื้นที่ตำบลเกษตรพัฒนา อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 2 ราย รายแรก มีแรงงานในครัวเรือน 2 คน ใช้ที่ดินขนาด 3 ไร่ และ รายที่ 2 มีแรงงานในครัวเรือน 4 คน ใช้ที่ดินขนาด 5 ไร่  พบว่าช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการผลิตแบบเดิมเฉลี่ยทั้ง 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 41.75

คำสำคัญ : แบบจำลองโปรแกรมเชิงเส้น  แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  การวางแผนการผลิตทางการเกษตร

 

Abstract

Research title “Planning of agricultural production by using linear programming model based on the concept of sufficiency economy in the area of Samut Sakhon Province”. The purposes of this research were  analyze agricultural production planning and study the results of the agricultural production planning applied to the farmers who have produced their own land in the Kaset Pattana district Samut Sakhon. Selected samples by purposive sampling method 2 people. The first part of data analysis from various sources was used to linear programming to plan production based on the concept of sufficiency economy. The second part of the data from questionnaire and interview were analyzed by descriptive analysis.

The results of the study were as follows:

1)  Planning of agricultural production by using linear programming model based on the concept of sufficiency economy there are 5 cases. 1.1) The 1st case of household labor has 1 person, land supplied 2 rai, capital 23,489 baht, 927 labor hours, 2,505 cubic meters of water and net income 88,435 baht. 1.2) The 2nd case of household labor has 2 persons, land supplied 3 rai, capital 30,080 baht, 1,025 labor hours, 3,818 cubic meters of water and net income 156,400 baht. 1.3) The 3rd case of household labor has 3 persons, land supplied 4 rai, capital 40,267 baht, 1,189 labor hours, 5,045 cubic meters of water and net income 227,193 baht. 1.4) The 4th case of household labor has 4 persons, land supplied 5 rai, capital 41,498 baht, 1,297 labor hours, 8,127 cubic meters of water and net income 260,858 baht. And 1.5) The 5th case of household labor has 5 persons, land supplied 6 rai, capital 44,237 baht, 1,342 labor hours, 8,661 cubic meters of water and net income 315,110 baht.

2)  The agricultural production planning using linear programming model based on the concept of sufficiency economy applied to 2 farmers in the Kaset Pattana district Samut Sakhon. That helps farmers income increased more from the traditional production average 41.75 percent.

key word: linear programming, sufficiency economy, agricultural production

Downloads

How to Cite

ตันติญานุกูล พ. (2013). การวางแผนการผลิตทางการเกษตรโดยใช้แบบจำลองโปรแกรมเชิงเส้น ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 8(1), 161–174. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5109

Issue

Section

Original Articles