แนวทางการพัฒนาการใช้สารสนเทศเพื่อประกอบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของประเทศไทย

Authors

  • บุญญลักษม์ ตำนานจิตร อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • ณัฐวุฒิ สังข์ทอง อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Keywords:

การใช้สารสนเทศ, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Research) มุ่งเปรียบเทียบสภาพการใช้สารสนเทศประกอบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของประเทศไทย 3 ด้าน คือ การใช้ ความต้องการ และปัญหาในการใช้สารสนเทศ โดยจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการปฏิบัติงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หน่วยงานต้นสังกัด และภูมิภาคที่ปฏิบัติงาน และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้สารสนเทศประกอบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณเป็นผู้ดูแลเด็กที่ประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาในทุกๆ ด้านเหมาะสมตามวัย   ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และได้รับรางวัลผู้ดูแลเด็กดีเด่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปี  2552 จำนวนทั้งสิ้น 290 คน  ส่วนกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพเป็นการคัดเลือกผู้ร่วมสนทนากลุ่ม (Focus group) จำนวนทั้งสิ้น 12 คน โดยใช้เกณฑ์การเลือกจากผู้ดูแลเด็กเล็กสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  ผู้บริหารของเทศบาลเมือง/เทศบาลตำบล/องค์การบริหารส่วนตำบล นักสารสนเทศทางการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญการจัดการศึกษาปฐมวัย  เครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถามการใช้สารสนเทศเพื่อประกอบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของประเทศไทย  ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .96  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคำนวณค่าสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way Analysis of Variance-ANOVA) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีของScheffe’ ข้อมูลเบื้องต้นของข้อเสนอแนะนำมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสร้างข้อคำถามเพื่อประกอบการสนทนาย่อย เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้สารสนเทศประกอบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้ดูแลเด็ก  ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม และสังเคราะห์เนื้อหาด้วยการจัดหมวดหมู่และจัดลำดับ แล้วนำมาเขียนแจกแจงเป็นความถี่ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้ดูแลเด็กที่มีอายุมากกว่า 45 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นเวลา 11-15 ปี สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล และปฏิบัติงานในภาคกลาง  โดยภาพรวมผู้ดูแลเด็กส่วนใหญ่ใช้สารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์ และสารสนเทศประเภทสิ่งไม่ตีพิมพ์อยู่ในระดับปานกลาง และใช้สารสนเทศประเภทเอกสารอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับน้อย  โดยมีความต้องการใช้สารสนเทศทุกประเภท คือ ประเภทสิ่งพิมพ์ สิ่งไม่ตีพิมพ์ และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับมาก  และปัญหาในการใช้สารสนเทศโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  โดยผู้ดูแลเด็กที่มีอายุต่างกันมีการใช้สารสนเทศโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  มีความต้องการใช้ และปัญหาในการใช้สารสนเทศโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ซึ่งผู้ดูแลเด็กที่ระดับการศึกษาต่างกันมีการใช้  ความต้องการใช้ และปัญหาการใช้สารสนเทศโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน โดยผู้ดูแลเด็กที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานต่างกันมีการใช้สารสนเทศโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความต้องการใช้สารสนเทศโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  แต่ปัญหาการใช้สารสนเทศโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และพบว่าผู้ดูแลเด็กที่มีหน่วยงานต้นสังกัดต่างกันมีการใช้ และความต้องการใช้สารสนเทศโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ปัญหาการใช้สารสนเทศโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน  พร้อมทั้งพบว่าผู้ดูแลเด็กที่ปฏิบัติงานในภูมิภาคต่างกันมีการใช้ และความต้องการใช้สารสนเทศโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  แต่ปัญหาการใช้สารสนเทศโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน  แนวทางการพัฒนาการใช้สารสนเทศเพื่อประกอบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้ดูแลเด็กในศูนย์ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของประเทศไทย คือ ควรมีผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีความรู้ด้านการศึกษาปฐมวัยผลักดันให้มีการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้แก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีบทบาททางด้านวิชาการและสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ เข้ามาสนับสนุน รวมทั้งให้คำปรึกษาทางด้านวิชาการ เกณฑ์มาตรฐานการประเมินผลการศึกษา และกลวิธีการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตลอดจนแนะนำการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการบันทึกติดตามพัฒนาการของเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และให้คำปรึกษาให้ผู้ดูแลเด็กสามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น จากศูนย์สารสนเทศ อินเทอร์เน็ต  เป็นต้น ให้ผู้ดูแลเด็กสามารถสืบค้นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และจัดทำวิจัยในชั้นเรียน และแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  โดยกำหนดทิศทางหรือนโยบายที่เป็นแนวทางเดียวกัน ตั้งแต่การบริหารในระดับสูงจนถึงหน่วยงานต้นสังกัดของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น รวมทั้งกำหนดกรอบในการดำเนินงานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้สารสนเทศในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการ โดยจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ  ควรมีการจัดทำเว็บไซต์ที่เป็นศูนย์กลางในการติดตามกิจกรรมและข่าวสารประชาสัมพันธ์ และใช้ในการรวบรวมข้อมูลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศ

คำสำคัญ : การใช้สารสนเทศ, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

 

Abstract

The objectives of this mix-method research were: 1) to compare the current conditions of information implementation by caretakers in the creation of learning experiences  in child development centers in Thailand in three aspects (implementation, needs and problems) with the caretakers’ demographics (age, educational background, length of employment at the centers, agency they worked for and region they worked in) and 2) to develop guidelines for caretakers to implement information resources in order to create learning experiences in child development centers in Thailand. Quantitatively, the data were collected from 290 caretakers who worked in child development centers under the jurisdiction of the Department of Local Administration in the Ministry of Interior. They were also award an outstanding caretaker certification from the Department of Local Administration in 2009. Qualitatively, the data were collected in a focus group from 12 informants who were caretakers who worked under the Department of Local Administration, the administrators of city municipality, the administrators of sub-district municipality, the administrators of sub-district administrative organization, educators in information, and experts in early childhood education. The research instrument for quantitative data was a questionnaire (reliability = .96). The quantitative data was analyzed by descriptive statistics (percentage, arithmetic mean and standard deviation), one-way ANOVA, and Scheffe’s method of pair-wise comparison. The results were partly used to construct questions used in a focus group. Qualitative data collected from a focus group were analyzed by grouping and ranking in order to construct guidelines.

The research results were as follows:

1. The majority of informants was aged over 45, had a bachelor’s degree, had worked in child development centers for 11-15 years, had worked under sub-district administrative organization and worked in the Central region. Regarding implementation of resources, they fairly implemented print and non-print media but hardly implemented electronic media to create learning experiences. Concerning implementation needs, they highly required information from print, non-print and electronic media. Regarding implementation problems, they had moderate difficulties with information implementation.

2. The caretakers who differed in age were insignificantly different in needs and problems but significantly different in implementation (p = .05). The caretakers who differed in educational background were insignificantly different in implementation, needs and problems. The caretakers who differed in working length, in the agency they worked for, and in the region they worked in were insignificantly different in problems, but significantly different in implementation and needs (p = .05).

3. With regard to the guidelines for developing the implementation of information resources, the information center established by experts in early childhood education should act as a major agency in supporting and developing learning resources for child development centers. This information center should offer consulting services on academic subjects, including educational evaluation criteria, operational strategies for the child development center, implementation of computer technology in order to keep records of child development, and training for information retrieval from various sources. All of these guidelines are to help equip the caretakers with the knowledge and skills for creating learning experiences, classroom research and life-long learning. Moreover, the directions and policies should be clear, directional and applied at all levels while the budget for this development should be sufficient. Finally, a web site that functions as an information hub for all child development centers should be established.

Keywords: Information implementation, Child development centers

Downloads

How to Cite

ตำนานจิตร บ., & สังข์ทอง ณ. (2013). แนวทางการพัฒนาการใช้สารสนเทศเพื่อประกอบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของประเทศไทย. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 8(1), 145–160. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5108

Issue

Section

Original Articles