การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการช่วยลดภาวะโลกร้อน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร
Keywords:
พฤติกรรมการลดภาวะโลกร้อน, การเปิดรับข่าวสาร, global warming reduction behaviors, news media exposuresAbstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ความ ตระหนัก และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการช่วยลดภาวะโลกร้อนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ โดยใช้การวัดแบบครั้งเดียวและใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎในเขตกรุงเทพมหานคร ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1- 4 ภาคปกติ จำนวน 398 คน สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนาโดยการแจกแจงความถี่ และร้อยละ เพื่ออธิบายข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการ ช่วยลดภาวะโลกร้อน ส่วนการทดสอบสมมติฐานการวิจัยนั้น มีการใช้สถิติไคสแควร์ มาวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ จากการหาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการช่วยลด ภาวะโลกร้อน พบว่า ประการแรก การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องปัญหาภาวะโลกร้อนจากสื่อมวลชน และสื่อกิจกรรม มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับปัญหาภาวะโลกร้อน ประการที่สอง การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาภาวะโลกร้อน จากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออินเทอร์เน็ต และสื่อกิจกรรมมีความสัมพันธ์กับความตระหนักในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ประการที่สาม ความรู้เกี่ยวกับปัญหาภาวะโลกร้อนมีความสัมพันธ์กับความตระหนักในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน และประการสุดท้าย ความตระหนักในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการ ช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน โดยทุกความสัมพันธ์พิจารณาจากทดสอบด้วย X2-test ซึ่งพบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .000
คำสำคัญ : พฤติกรรมการลดภาวะโลกร้อน, การเปิดรับข่าวสาร
Abstract
The objective of this research was to study and analyze the relationships between the exposure to news, knowledge, awareness and participation in global warming reduction behaviors of Rajabhat University students in Bangkok Metropolitan Area (BMA). This survey research sought to establish relationships among various variables, using one-shot descriptive study and questionnaires as data collection tools. Stratified random sampling was used to select the participants. The population participating in the research was 398 undergraduate students enrolled in regular programs of Rajabhat Universities in the BMA. The descriptive statistics with the use of frequency and percentages were employed to explain data about exposure to news, knowledge, awareness and participation in global warming reduction behaviors. Chi-square was used for hypothesis testing. The first result demonstrated that exposure to news on global warming from the mass media and activity media was correlated with students’ knowledge of this topic. Second, exposure to news on global warming from the print media, Internet media and activity media was correlated with awareness in mitigating global warming problems. Third, knowledge of global warming was correlated with awareness in mitigating global warming. Finally, awareness in mitigating global warming was correlated with participation behaviors in global warming reduction. In assessing the relationships among exposure to news, knowledge, awareness and participation behaviors in global warming reduction by using X2-test, the significant level was at .000.
Keywords : global warming reduction behaviors, news media exposures