ปัจจัยจูงใจในการเลือกศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Authors

  • นงเยาว์ นุชนารถ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Keywords:

ปัจจัยจูงใจในการเลือกศึกษาต่อ, การศึกษาปฐมวัย

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจที่ทำให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เข้าศึกษาต่อสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาตนเอง/เหตุผลส่วนตัว 2) ด้านบุคคลที่เกี่ยวข้อง 3) ด้านความมีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย 4) ด้านค่านิยมทางสังคม และเปรียบเทียบปัจจัยจูงใจในการเลือกศึกษาต่อสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน จำแนกตามข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษา

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวนทั้งสิ้น 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า(ทดสอบ) t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยจูงใจที่ทำให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
เข้าศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยจูงใจด้านการพัฒนาตนเอง/เหตุผลส่วนตัว และปัจจัยจูงใจที่ทำให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตเข้าศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยน้อยที่สุด ได้แก่ด้านบุคคลที่เกี่ยวข้อง ส่วนการเปรียบเทียบปัจจัยจูงใจในการเลือกศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน จำแนกตามข้อมูลพื้นฐาน พบว่า เพศ อาชีพของบิดาและมารดา ระดับการศึกษาของบิดาและมารดา รายได้รวมของครอบครัวต่อเดือน โดยรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 หรือเทียบเท่าและอันดับการเลือกศึกษาต่อ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : ปัจจัยจูงใจในการเลือกศึกษาต่อ, การศึกษาปฐมวัย

 

Abstract

The purpose of this research was to study the motivational factors of first-year students who decided to continue their undergraduate study in the early childhood education program at Suan Dusit Rajabhat University through four aspects — self development/personal reasons, related persons, reputation of the university, and social values — and to compare the four aspects based on students’ demographics.

The population was 220 first-year students who studied in early childhood education program at Suan Dusit Rajabhat University in the 2010 academic year. The research instruments were a questionnaire and interview questions constructed by the researcher. Data were analyzed by descriptive statistics (frequency, percentage, arithmetic mean and standard deviation), t-test, and one-way ANOVA.

The research results were as follows:

1. The motivational factor that affected the students’ decision making the most was self development and personal reasons, while the factor that affected their decision making the least was related persons.

2. The students who were different in gender, parents’ occupations, parents’ educational background, and family monthly incomes were insignificantly different in their motivational factors. However, students who were different in their accumulated grade point average (GPA) in grade 12 and their ranks and choice of preferred universities/programs were significantly different in their motivational factors (p = .05).

Keywords: Motivational factors, Early childhood education

 

Downloads

How to Cite

นุชนารถ น. (2013). ปัจจัยจูงใจในการเลือกศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 8(1), 131–144. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5105

Issue

Section

Original Articles