สภาพและแนวทางการพัฒนาการทำวิจัยในชั้นเรียนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Authors

  • อังคณา นุตยกุล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • ขนิษฐา ปาลโมกข์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Keywords:

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, วิจัยในชั้นเรียน, สภาพและแนวทางการพัฒนา, Suan Dusit Rajabhat University, Action research, Conditions and guidelines for development

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 2) เปรียบเทียบสภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำแนกตามสถานภาพทั่วไปของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 3) ศึกษาเจตคติต่อการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต  4)  ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อการวิจัยกับสภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และ 5)  ศึกษาแนวทางการพัฒนาการทำวิจัยในชั้นเรียนของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต  ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 233 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (dimple random sampling) โดยการเทียบสัดส่วนจากประชากรแต่ละคณะ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามสภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนและเจตคติต่อการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับตามวิธีครอนบาค เท่ากับ .9282  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบสภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำแนกตามสถานภาพทั่วไปของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สถิติที่ใช้คือ สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบรายคู่โดยวิธี LSD และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ นักวิชาการ ผู้บริหารในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และนักวิชาการ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจากภายนอกที่มีผลงานและความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ด้านการวิจัยในชั้นเรียนและกำหนดนโยบายด้านการวิจัยในชั้นเรียน จำนวน 19 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและหาความถี่ ผลการวิจัยพบว่า

1)  สภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต  อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีระดับปฏิบัติการทำวิจัยในชั้นเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อันดับแรก คือ ด้านกระบวนการวิจัย โดยมีระดับปฏิบัติสูงสุดอันดับแรกคือ อาจารย์ทำวิจัยควบคู่กับการเรียนการสอนและมีเป้าหมายในการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน รองลงมาคือ ด้านบริหารจัดการ โดยมีระดับปฏิบัติสูงสุดอันดับแรกคือ การใช้งบประมาณส่วนตัวในการทำวิจัยในชั้นเรียน และด้านการเสริมแรง โดยมีระดับปฏิบัติสุงสุดอันดับแรกคือ มหาวิทยาลัยฯ กำหนดให้การทำวิจัยในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งของภาระงาน ตามลำดับ

2) อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตที่มีสถานภาพทั่วไปด้านคณะที่สังกัดและสถานภาพการทำวิจัยต่างกัน มีสภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .05 ตามลำดับ ส่วนสถานภาพทั่วไปด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน

3) เจตคติต่อการวิจัยกับสภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4) แนวทางการพัฒนาการทำวิจัยในชั้นเรียนของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มี 3 ด้านคือ 1)  ด้านกระบวนการวิจัย อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตควรได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตในเรื่องกระบวนการพัฒนาการทำวิจัยในชั้นเรียนการให้ความรู้ด้านการวิจัยในชั้นเรียนรูปแบบที่หลากหลาย การจัดระบบพี่เลี้ยงการจัดระบบติดตามกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนที่ชัดเจน การเผยแพร่และการนำเสนอผลการวิจัยในชั้นเรียน 2)  ด้านการบริหารจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตควรกำหนดนโยบายด้านระยะเวลาในการทำวิจัยในชั้นเรียน  การจัดสรรเวลาและการนำนวัตกรรมมาใช้สำหรับการวิจัยในชั้นเรียน และ 3) ด้านการเสริมแรง อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตควรได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตในเรื่องเงินงบประมาณสนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียน  กระบวนการเผยแพร่ผลงานวิจัยในชั้นเรียน การอบรมอย่างต่อเนื่องทั้งภายในและภายนอก รางวัล  วัสดุอุปกรณ์ในการทำวิจัยในชั้นเรียนและการได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

คำสำคัญ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, วิจัยในชั้นเรียน, สภาพและแนวทางการพัฒนา

 

Abstract

The purposes of this research were to (1) study the conditions of conducting classroom research of Suan Dusit Rajabhat University instructors; (2) compare the conditions of conducting classroom research of Suan Dusit Rajabhat University instructors classified by their general condition factors; (3) study the attitude toward conducting classroom research of Suan Dusit Rajabhat University instructors; (4) study the relationship between the attitude toward conducting classroom research and the condition of conducting classroom research of Suan Dusit Rajabhat University instructors; and (5) study guidelines for development of conducting classroom research of Suan Dusit Rajabhat University instructors.

This study employed the mixed research method comprising both quantitative and qualitative research methodologies. The research sample for the quantitative study consisted of 233 Suan Dusit Rajabhat University instructors from dimple random sampling determined by the relative proportion of each faculty.

The data-collecting instrument was a questionnaire on the condition of conducting classroom research and attitude toward conducting classroom research of Suan Dusit Rajabhat University instructors, with a reliability coefficient for the whole questionnaire at .9282. Research data were analyzed using percentage, mean, and standard deviation. Data for comparison of the conditions of conducting classroom research of Suan Dusit Rajabhat University instructors, as classified by their general condition factors, were analyzed using the t-test, one-way ANOVA, and LSD method for pair-wise comparison. Data on the relationship between the attitude toward conducting classroom research and the condition of conducting classroom research of Suan Dusit Rajabhat University instructors were analyzed using Pearson product-moment correlation coefficient.

Data for qualitative study were collected via the use of in-depth interviews   of 19 samples: academics and administrators in the Suan Dusit Rajabhat University as well as scholars and administrators from other universities who have expertise or experience in classroom research and classroom research policy. Data of this research were analyzed using content analysis and frequency.

Research findings were as follows:

1. Regarding the conditions of conducting classroom research of Suan Dusit Rajabhat University instructors, the sample was rated at a high level in overall aspect. Considering the first aspect, the research process and the practice of conducting classroom research while practicing classroom lecturing with the goal to develop instruction received the top rating. The following ranking was achieved by the management aspect which the top samples practiced using personal budget in support of conducing classroom research. The last aspect was the reinforcement which had the most frequent practice because the university required classroom research to be an integral part of regular workload.

2. Instructors under different faculties and with different statuses of conducting research differed significantly in their overall conditions of conducting classroom research at the .001 and .05 levels respectively.  No significant difference was found in the comparison of any other general condition factor of the instructors.

3. The overall attitude toward conducting classroom research of Suan Dusit Rajabhat University instructors correlated significantly with their overall condition of conducting classroom research at the .01 level.

4. Guidelines for the development of conducting classroom research of Suan Dusit Rajabhat University instructors consisted of 3 aspects as follows:

(1) On the aspect of research process, Suan Dusit Rajabhat University instructors should receive support from Suan Dusit Rajabhat University on the development of classroom research process, the provision of knowledge on various models of conducting classroom research, the organization of the mentoring system, the organization of the continuous monitoring model of the classroom research process, the writing of clear classroom research reports, and the presentation and diffusion of classroom research reports;

(2) On the aspect of management, Suan Dusit Rajabhat University should set the policies on the duration of conducting classroom research, the time allocation, and the application of innovation for classroom research; and

(3) On the aspect of reinforcement, Suan Dusit Rajabhat University instructors should receive support from Suan Dusit Rajabhat University on the following: a budget for conducting classroom research, the diffusion process for classroom research, the provision of continuous training both from inside and outside the university, the provision of research rewards, the necessary materials and equipment for conducting classroom research, and cooperation from concerned work units.

Keywords : Suan Dusit Rajabhat University, Action research, Conditions and guidelines for development

Downloads

How to Cite

นุตยกุล อ., & ปาลโมกข์ ข. (2013). สภาพและแนวทางการพัฒนาการทำวิจัยในชั้นเรียนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 7(3), 129–146. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5103

Issue

Section

Original Articles