ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านภูมิหลัง คะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัย กับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต รุ่นที่ 4 ปีการศึกษา 2553

Authors

  • ประกาย จิโรจน์กุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • นงลักษณ์ เชษฐภักดีจิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • ณัฐยา ศรีทะแก้ว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Keywords:

การรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์, คะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัย, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, Nursing students’ enrollment, Entrance examination scores, Academic achievement

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังของนักศึกษาพยาบาลที่รับเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ปีการศึกษา 2553 และ ความสัมพันธ์ระหว่าง คะแนนที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาด้วยวิธีต่างๆ กับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 เป็นการศึกษาในกลุ่มประชากร คือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ รุ่นที่ 4 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 91 คน เป็นนักศึกษาที่รับเข้าโดยระบบโควต้า 48 คน (52.7%) และ ระบบรับตรง 43 คน (47.3%) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (92.3%) มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (54.9%) มาจากโรงเรียนของรัฐระดับอำเภอ (70.3%) ต้องกู้เงินจากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (63.7%) เหตุผลที่เลือกเรียนพยาบาลเพราะ ชอบ/ สนใจ ด้วยตัวเอง (93.4%) ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต โดยการค้นหาข้อมูลของมหาวิทยาลัยด้วยตนเองทางอินเตอร์เน็ต (90.1%) เหตุผลในการเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ส่วนใหญ่เพราะเชื่อมั่นในชื่อเสียง/มาตรฐานของมหาวิทยาลัย (92.3%) มีคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ GPAX ม.ปลาย (Mean=3.45, S.D.=0.33); GAT (Mean=146.06, S.D.= 35.35) PAT2 (Mean=92.94, S.D.= 11.56) และ คะแนนเฉลี่ยสะสมชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 (Mean=2.68, S.D.= 0.34)

ผลการทดสอบด้วยสถิติ t-test พบว่า GPAX ป. ปลาย ของนักศึกษาที่มาจากโรงเรียนในระดับอำเภอสูงกว่านักศึกษาที่มาจากโรงเรียนระดับจังหวัด อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 99% ส่วน GPAX ม.ปลายของนักศึกษาที่เข้าศึกษาโดยวิธีโควต้า สูงกว่า ของนักศึกษาที่เข้าโดยวิธีรับตรงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 99% แต่ในทางตรงกันข้ามคะแนน GAT และคะแนน

เฉลี่ยสะสมของภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ของนักศึกษาที่รับเข้าโดยวิธีรับตรงสูงกว่า ของนักศึกษาที่รับเข้าโดยโควต้าอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 99% และ 95% ตามลำดับ นอกจากนั้น ผลการทดสอบความสัมพันธ์โดยสถิติ Pearson’s correlation พบว่า คะแนน GAT และ คะแนนสอบรับตรงวิชา GE 02 มีความสัมพันธ์กับ คะแนน GPA ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99% และ 95% ตามลำดับ

ผลการศึกษานี้ สรุปได้ว่า GPAX ม.ปลายไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในขณะที่ คะแนนสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงสุด คือ คะแนน GAT รองลงมา คือ คะแนนสอบรับตรงวิชา GE 02

คำสำคัญ : การรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์, คะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัย, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

 

Abstract

The purposes of this survey research were to explore the background of nursing students enrolled in the 2010 academic year and to investigate the relationships of entrance examination scores and academic achievement in the first semester of those students. The data was collected from a sample of all 91 nursing students by a questionnaire developed by the researchers. Forty-eight persons (52.7%) were enrolled by way of the quota system and the other 43 persons (47.3%) by the direct examination system.

The results revealed that the majority of the students were female (92.3%), from the Northeast region of the country (54.9%), graduated from the secondary schools at sub-district level (70.3%) and were financed by the government’s educational loan (63.7%). The students reported that they chose to study nursing because of their own preference or interest (93.4%) and that they researched information about Suan Dusit Rajabhat University through the internet by themselves (90.1%). The main reason they chose to study at Suan Dusit Rajabhat University was because of its reputation or standards (92.3%). Their grade point average at the secondary schools or GPAX =3.45 (S.D. =0.33); GAT (Mean=146.06, S.D. = 35.35) PAT2 (Mean=92.94, S.D. = 11.56) and GPA of the first semester at the university =2.68 (S.D. = 0.34).

The analysis by t-test showed that the GPAXs of students from schools at sub-district level were significantly higher than that of those from schools at district level with a 99% level of confidence. The GPAXs of students enrolled by way of the quota system were significantly higher than those from the direct examination system, however their GAT scores and GPAs of the first semester at the university were significantly lower than that of the latter group with 99 and 95% levels of confidence respectively.

In addition, the Pearson’s Product Moment Correlation analyses revealed that there were statistically significant correlations between GAT scores and GPAs of the first semester; and between the GE 02 direct examination scores and GPAs of the first semester with 99 and 95% levels of confidence respectively.

Keywords : Nursing students’ enrollment, Entrance examination scores, Academic achievement

 

Downloads

How to Cite

จิโรจน์กุล ป., เชษฐภักดีจิต น., & ศรีทะแก้ว ณ. (2013). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านภูมิหลัง คะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัย กับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต รุ่นที่ 4 ปีการศึกษา 2553. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 7(3), 115–128. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5100

Issue

Section

Original Articles