ผลของการสอนในรายวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยใช้การสอนแบบ แผนที่ความคิด (Mind Mapping)

Authors

  • กาญจนา เผือกคง และคณะ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Keywords:

แผนที่ความคิด, การโปรแกรมคอมพิวเตอร์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระหว่างนักศึกษาที่เรียนโดยใช้แผนที่ความคิดและนักศึกษาที่เรียนด้วยวิธีการปกติ และศึกษาเจตคติต่อการเรียนรายวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้การสอนแบบแผนที่ความคิด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมวัดผลเฉพาะหลังการทดลอง (Posttest- only Control Group Design) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 2 ตอนเรียน มีนักศึกษา 110 คน และทำการสุ่มให้เป็นกลุ่มทดลอง 1 ตอนเรียน มีนักศึกษา จำนวน 43 คน และสุ่มให้เป็นกลุ่มควบคุม 1 ตอนเรียน มีนักศึกษา 67 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย    แผนการสอนรายวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้การสอนแบบแผนที่ความคิดสำหรับนักศึกษากลุ่มทดลอง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเมื่อเรียนจบแต่ละเนื้อหา และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้การสอนแบบแผนที่ความคิด โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดเจตคติเท่ากับ .96 ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษาที่เรียนวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้การสอนแบบแผนที่ความคิดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาที่เรียนด้วยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ 2) เจตคติของนักศึกษาต่อการเรียนวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้การสอนแบบแผนที่ความคิดในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากเรียงลำดับ ดังนี้ ลักษณะการสอนของอาจารย์ผู้สอน ความสามารถของอาจารย์ในการสอนโดยใช้แผนที่ความคิด สื่อการสอนสำหรับการจัดการสอนด้วยแผนที่ความคิด ความเหมาะสมของการสอนโดยใช้การสอนแบบแผนที่ความคิดในเนื้อหาวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การประยุกต์ใช้แผนที่ความคิด และวิธีการสอนโดยใช้การสอนแบบแผนที่ความคิดในรายวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์

คำสำคัญ: แผนที่ความคิด การโปรแกรมคอมพิวเตอร์

 

Abstract

The purpose of this research was to compare the learning achievement and learning attitudes of students who studied computer programming through the mind mapping technique and students who studied the same course through the conventional method.

This experimental research used the Posttest-only Control Group Design method. The population was 110 students separated into two sections from the Information and Communication Technology Curriculum of Suan Dusit Rajabhat University who enrolled in a Computer Programming course in the second semester of the 2008 academic year. One section (43 students) was randomly assigned to be an experimental group and the other (67 students) was a control group. The research instruments included the lesson plan, the achievement tests, and a questionnaire to assess learning attitudes (reliability = .96)

The results of this research were as follows:

1. The experimental group gained higher learning achievement than the control group at a significant level (p = .001).

2. The attitude of the experimental group towards the mind mapping technique was found to be at a high level in every aspect, including the teaching qualities of the lecturer, the ability of using mind mapping for teaching by lecturer, teaching materials, the suitability of using the mind mapping technique in a Computer Programming course, the application of the mind mapping technique and the teaching methods in which the mind mapping technique was integrated respectively.

Keywords: Mind mapping, Computer programming

 

Downloads

How to Cite

เผือกคง และคณะ ก. (2013). ผลของการสอนในรายวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยใช้การสอนแบบ แผนที่ความคิด (Mind Mapping). Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 8(1), 109–118. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5098

Issue

Section

Original Articles