สภาพและความต้องการการออกกำลังกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิต ในเขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2554
Keywords:
ความต้องการ, การออกกำลังกาย, Need, ExerciseAbstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและความต้องการการออกกำลังกาย และเปรียบเทียบความต้องการการออกกำลังกายตามเพศชาย หญิง และระดับชั้นของนักเรียนตอนต้น โรงเรียนสาธิต ในเขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2554 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 360 คน เป็นชาย 180 คน และหญิง 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และ(f-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way Analysis of Variance) ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการออกกำลังกายของนักเรียน โรงเรียนสาธิตโดยรวม นักเรียนส่วนใหญ่ยังออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ เพราะว่านักเรียนส่วนใหญ่จะทุ่มเทกับการเรียนเป็นส่วนใหญ่จึงทำให้เวลาในการออกกำลังกายน้อยลง
2. ความต้องการการออกกำลังกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิต ในเขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2554 โดยรวมมีความต้องการการออกกำลังกายอยู่ในระดับมาก เพราะมีอายุใกล้เคียงกันและมีความต้องการคล้ายกัน เวลาว่างหรือเวลาการทำกิจกรรมก็เหมือนกัน
3. ความต้องการการออกกำลังกายตามเพศชาย – หญิง และตามระดับชั้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ในเขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2554 พบว่า
3.1 ความต้องการการออกกำลังกายระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 โดยรวม ไม่แตกต่างกัน
3.2 ความต้องการการออกกำลังกาย ในแต่ละระดับชั้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : ความต้องการ, การออกกำลังกาย
Abstract
The purpose of this research was to study the state and need for exercise of students in junior secondary demonstration schools in Bangkok during the 2011 academic year. It also aimed to compare the need for exercise for students of different gender and educational levels. The sample consisted of 360 students (180 males and 180 females). The data were collected by a questionnaire constructed by the researcher (reliability = .98). The data were analyzed by descriptive statistics (frequency, percentage, arithmetic mean, and standard deviation) and t-test, f-test and one-way ANOVA.
The results were as follows.
1. Most students did not exercise regularly due to their study load.
2. The students’ need for exercise in each educational level was generally high.
3. The male and female students were not significantly different in their need for exercise.
4. The students who were different in their educational level were significantly different in their need for exercise (p = .05).
Keywords : Need, Exercise