ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยเส้นเชือก

Authors

  • ธนารัตน์ เจือจันทร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • เยาวพา เดชะคุปต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นิภา ศรีไพโรจน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์, กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยเส้นเชือก

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยเส้นเชือก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 5 - 6 ปี ที่ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2553  ของโรงเรียนบ้านคลองโต๊ะนุ้ย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี  เขต 2  จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 1 ห้องเรียน ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการทดลองด้วยตนเอง  โดยจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยเส้นเชือก ทำการทดลองสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที รวมระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยเส้นเชือก และแบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ซึ่งแบบทดสอบมีค่าดัชนีความสอดคล้องกับจุดประสงค์ (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  .83  และ แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ One – Group Pretest – Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้  t – test for  Dependent Samples

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยภายหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยเส้นเชือก โดยรวมอยู่ในระดับสูง

2. ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยเส้นเชือกสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ : ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ , กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยเส้นเชือก

 

Abstract

The purpose of the study was to study and compare the spatial relation skills of children in their earliest years before and after engaging in activities in which threads were used to create art pieces. Participants were 12 male and female children aged 5-6 who studied in kindergarten level two. They were purposively selected. The study was conducted in the second semester of the 2010 academic year at Banklongtaonui School which is under the jurisdiction of the Office of Nonthaburi Educational Service Area 2. The experiment was carried out by the researcher for 30 minutes per day, three days per week and for eight consecutive weeks. The research instruments were based on the Thread-Related Creative Activities Lesson Plan and Spatial Relation Skill Test. The index of Item Objective Congruence (IOC) of the test was between 0.67-1.00 and the reliability of the test was .83. The design of this study was One Group Pretest Posttest. The dependent t-test was used to analyze data.

The results were as follows:

1.   The spatial relation skills of children in their earliest years after engaging in the activities were at a high level.

2.   The spatial relation skills of children in the earliest years before and after engaging in the activities were significantly different (p = .01).

Keywords: Spatial relation skills ability, Thread-related creative activities

 

Downloads

How to Cite

เจือจันทร์ ธ., เดชะคุปต์ เ., & ศรีไพโรจน์ น. (2013). ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยเส้นเชือก. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 8(1), 97–108. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5088

Issue

Section

Original Articles