การศึกษาพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Keywords:
คอมพิวเตอร์แบบพกพา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้งานคอมพิวเตอร์แบบพกพาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้งานคอมพิวเตอร์แบบพกพา โดยจำแนกตามคณะ และชั้นปี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ที่เรียนอยู่ชั้นปีที่ ๓ และ ๔ ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๓ จำนวน ๕,๔๑๕ คน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้มีจำนวน ๓๗๒ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดแบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบปลายเปิดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีสัมประสิทธิ์ความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๕ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาในด้านการเรียน ด้านการสื่อสาร และด้านความบันเทิง เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการเรียน นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาในการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต โดยค้นจาก Google มากที่สุด ด้านการสื่อสาร นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาในการติดต่อสื่อสารข้อมูลต่างๆ กับผู้ปกครอง อาจารย์ และเพื่อนผ่านทางอินเทอร์เน็ต เช่น อีเมล และเว็บไซต์ของทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และด้านความบันเทิง นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาในการสนทนาออนไลน์ เช่น MSN และ Skype ส่วนการเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้งานคอมพิวเตอร์แบบพกพาของนักศึกษาในแต่ละคณะและชั้นปี พบว่า นักศึกษาที่อยู่ต่างคณะกัน มีพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาในทุกด้านแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ แต่นักศึกษาที่อยู่คนละชั้นปีกลับมีพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาในทุกด้านไม่แตกต่างกัน
คำสำคัญ : คอมพิวเตอร์แบบพกพา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Abstract
The purpose of this research was to study and compare behaviors in the usage of notebook computers by undergraduate students who were from two different class years and a variety of faculties. The population of this study was 5,415 undergraduates who were 3rd and 4th year students during the first semester of 2010 academic year at Suan Dusit Rajabhat University. The samples were 372 students. The research instrument was a questionnaire designed by the researcher (reliability = .85) which comprised of a check list, a rating scale and open-ended questions. Data were analyzed by descriptive statistics (percentage, arithmetic mean and standard deviation), t-test and one-way ANOVA. The results of this study revealed that most students used notebook computers for studying, communication and entertainment purposes. Regarding studying, most students used notebook computers for searching the Internet. The most popular tool used for this activity was the Google search engine. Regarding communication, most students used notebook computers to communicate with parents, teachers, and friends by using e-mail and the web site of Suan Dusit Rajabhat University. Regarding entertainment, most students used notebook computers for synchronous Internet chat by using applications such as MSN and Skype.
When comparing behaviors of students, the study showed that students who studied in different faculties had significantly different behaviors (p = .05) but students who were different in their years of study did not have significantly different behaviors.
Keywords: Notebook computer, Suan Dusit Rajabhat University