ผลของรูปแบบการเรียนการสอนวิธีบรรยายโดยใช้ Mind Mapping ที่มีต่อเจตคติต่อหน่วยการเรียน และผลสัมฤทธิ์ในหน่วยการเรียนวิชาการพยาบาลพื้นฐาน ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Authors

  • สินีนาฏ หงษ์ระนัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Keywords:

รูปแบบการเรียนการสอน, วิธีบรรยายโดยใช้ mind mapping, เจตคติต่อหน่วยการเรียน, ผลสัมฤทธิ์ในหน่วยการเรียน, Integrating mind mapping, Learning achievement, Attitude towards learning unit, Learning achievement of learning unit

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวศึกษารายกรณี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการเรียนการสอนวิธีบรรยายโดยใช้ Mind mapping ที่มีต่อเจตคติต่อหน่วยการเรียนและผลสัมฤทธิ์ของหน่วยการเรียน ในวิชาการพยาบาลพื้นฐาน ประชากรเป้าหมายได้แก่ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ปีการศึกษา 2552 จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือทดลองได้แก่ ต้นแบบ mind mapping ของเนื้อหาการสอน อุปกรณ์ในการเขียน mind mapping ของตัวอย่าง เอกสารประกอบการสอนและสไลด์โปรแกรม powerpoint เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสำรวจเจตคติต่อหน่วยการเรียน จำนวน 13 ข้อ มีค่าความเชื่อถือได้(สัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟา เท่ากับ .89) และคะแนนการสอบในหน่วยการเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือค่าเฉลี่ยรายข้อ (\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรายข้อ (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านเจตคติต่อหน่วยการเรียน นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 คิดว่าการเรียนการสอนวิธีบรรยายโดยใช้ Mind mapping ทำให้มองเห็นภาพในการปฏิบัติชัดเจนขึ้น จุดประกายให้สรุปใจความสำคัญของเรื่องต่างๆง่ายขึ้น ทำให้กระตือรือร้นต่อการเรียน นำมาใช้ประโยชน์ได้กับการเรียนวิชาอื่น อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37, 4.33, 4.32 และ 4.32 ตามลำดับ และพบว่า บรรยากาศการเรียนการสอนทำให้เรียนอย่างสนุกสนาน การเรียนการสอนวิธีบรรยายโดยใช้ Mind mapping ทำให้วิชามีความน่าสนใจ และอยากให้การเรียนการสอนหน่วยอื่นๆเป็นแบบการเรียนการสอนวิธีบรรยายโดยใช้ Mind mapping รวมไปถึงการเรียนการสอนวิธีบรรยายโดยใช้ Mind mapping ทำให้มีมุมมองที่กว้างขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20, 4.17, 4.15 และ 4.13 ตามลำดับ ส่วนในการทบทวนบทเรียนหลังจากการเรียนการสอนวิธีบรรยายโดยใช้ Mind mapping ทำให้เกิดความมั่นใจในการสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 และ 3.60 ตามลำดับ ในด้านที่การเรียนการสอนวิธีบรรยายโดยใช้ Mind mapping ทำให้นักศึกษาอยากแสดงความคิดเห็นและเป็นชั่วโมงการเรียนการสอนที่ทำให้มีความสุขที่สุด อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 2. ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากคะแนนภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎีพบว่านักศึกษาพยาบาลจำนวน 60 คน มีระดับคะแนนการปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานหน่วยที่ 8 อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 100 และจากคะแนนภาคทฤษฎีพบว่านักศึกษาพยาบาลจำนวน 60 คน มีระดับคะแนนการพยาบาลพื้นฐานหน่วยที่ 8 อยู่ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 75

คำสำคัญ : รูปแบบการเรียนการสอน, วิธีบรรยายโดยใช้ mind mapping, เจตคติต่อหน่วยการเรียน, ผลสัมฤทธิ์ในหน่วยการเรียน

 

Abstract

This research was a classroom action research (CAR) that was designed to use one shot case study design. The objective of the research was to study the effectiveness of integrating mind mapping to lecture on the attitude and learning achievement of a learning unit in a Fundamentals of Nursing course. The research samples were 60 first year nursing students from the Faculty of Nursing, Suan Dusit Rajabhat University during the 2009 academic year. The instruments used in gathering data were experiment and collective instruments.

The experiment instruments were 1) prepared mind mapping for teaching 2) the stationary for writing mind mapping 3) the content for teaching 4) the Microsoft PowerPoint program. The collective instruments were an attitude questionnaire at the level of reliability of .89 and the test scores from theory and clinical evaluations. The independent variable was the lecture which integrated mind mapping and the dependent variable were attitude and learning achievement of a learning unit. Mean(\bar{x} and standard deviation were used for the analysis of the data.

The results of this classroom action research were as follows:

1. The sampling group had a good attitude towards the learning unit and believed the lecture which integrating mind mapping encouraged them to have the highest imagination related to their practical ability, to be able to focus on the detail of a learning unit, to be active to learn, and to benefit from the other subjects ( \bar{x} = 4.37, 4.33, 4.32 and 4.32). The study also found that the lecture which integrating mind mapping encouraged students to have fun, remain interested in a learning unit and to want the other learning unit to use the same method of teaching ( \bar{x} = 4.20, 4.17, 4.15 and 4.13). Moreover, students appeared to have more confidence in theory and practical evaluation ( \bar{x} = 3.98 and 3.60) when mind mapping was incorporated into the lecture. The teaching which integrating mind mapping encouraged them to voice their opinion actively and learn with enthusiasm ( \bar{x} = 3.88).

2. Regarding the achievement of practical and theoretical points measured from a basic level of nursing unit 8, all students had a high level of achievement in practicum and 75 % of them had high level of the theory evaluation.

Keywords : Integrating mind mapping, Learning achievement, Attitude towards learning unit, Learning achievement of learning unit

Downloads

How to Cite

หงษ์ระนัย ส. (2013). ผลของรูปแบบการเรียนการสอนวิธีบรรยายโดยใช้ Mind Mapping ที่มีต่อเจตคติต่อหน่วยการเรียน และผลสัมฤทธิ์ในหน่วยการเรียนวิชาการพยาบาลพื้นฐาน ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 7(3), 27–36. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5084

Issue

Section

Original Articles