การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษาตลาดน้ำวัดไทร กรุงเทพมหานคร

Authors

  • ธีราภรณ์ นกแก้ว วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

ตลาดน้ำ, การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, การจัดการการท่องเที่ยว, แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษาตลาดน้ำวัดไทร  มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้ตลาดน้ำวัดไทรได้รับความนิยมน้อยลง และศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของตลาดน้ำวัดไทรพร้อมเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาฟื้นฟูตลาดน้ำวัดไทรให้มีชีวิตอีกครั้ง งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาทั้งเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่าง 5 กลุ่ม จำนวน 57 คน ได้แก่ 1) ผู้นำชุมชน 2) เจ้าหน้าที่รัฐ 3) พ่อค้า แม่ค้าในตลาด 4) นักท่องเที่ยว     5) ผู้ประกอบการธุรกิจภาคเอกชน และเชิงปริมาณโดยแจกแบบสอบถามกลุ่มชาวบ้านในชุมชน จำนวน 430 ชุด ซึ่งผู้วิจัยได้นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา

จากการศึกษา พบว่า สาเหตุที่ทำให้ตลาดน้ำวัดไทรได้รับความนิยมน้อยลง ได้แก่ ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการของตลาดน้ำวัดไทรยังมีความขัดแย้งกันภายใน ประกอบกับความเจริญที่เข้ามาในพื้นที่ทำให้สภาพแวดล้อม วิถีชีวิตดั้งเดิมได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ทำให้ตลาดน้ำถูกลดบทบาทลงไปพร้อมกับการสัญจรทางน้ำ โดยหันมาใช้การสัญจรทางบก และย้ายขึ้นมาขายของบนบกแทน ที่ผ่านมาได้มีความพยายามหลายครั้งในการฟื้นฟูตลาดน้ำวัดไทรขึ้นมาใหม่ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากนักท่องเที่ยวมาแล้วไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง นักท่องเที่ยวจึงมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ พ่อค้า แม่ค้าก็ขาดทุน จึงทยอยถอนตัวออกไปทีละราย และปัจจุบันก็ยังไม่มีโครงการฟื้นฟูตลาดน้ำวัดไทรขึ้นมาอีก

การจัดการการท่องเที่ยวของตลาดน้ำวัดไทร ในอดีตกระแสของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ยังไม่เป็นที่นิยมอย่างเช่นในปัจจุบัน เนื่องจากยังไม่มีผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่รุนแรงเหมือนในปัจจุบัน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2545 ที่สำนักงานเขตจอมทองเข้ามาฟื้นฟูตลาดน้ำวัดไทรนั้น เริ่มมี   การนำแนวคิดเรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เข้ามา จึงเกิดโครงการที่ต้องการอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรมดั้งเดิมที่มีคุณค่าของตลาดน้ำให้คงอยู่ต่อไป ต้องการส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น และเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วม แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนถึงปัจจุบันตลาดน้ำวัดไทรก็ยังไม่ได้มีการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างจริงจัง

ผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่า หากนำหลักการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มาช่วยฟื้นฟูตลาดน้ำ      วัดไทรคงจะเป็นไปได้ยาก เพราะวิถีชีวิตแบบเดิมได้หมดไปแล้ว ไม่เหลือให้อนุรักษ์ไว้ แต่หากจะฟื้นฟูให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวซื้อขายสินค้าธรรมดาทั่วไป ก็พอจะเป็นไปได้มากกว่า เพราะทุกวันนี้ก็มีคนมาเดินจับจ่ายใช้สอยหรือซื้อของที่ตลาดวัดไทรซึ่งเป็นตลาดบกไปแล้วเป็นจำนวนมาก หรือหากต้องการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมชิ้นนี้เอาไว้ ก็เสนอให้จัดเป็นงานรำลึกตลาดน้ำวัดไทรเป็นประจำทุกปี

คำสำคัญ : ตลาดน้ำ  การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  การจัดการการท่องเที่ยว  แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

 

Abstract

The purpose of this research was to analyze the reasons why Wat Sai Floating Market has lost popularity, to study conservation tourism administration of the market and to suggest the guidelines for its development and rejuvenation. The qualitative method used in this study was the in-depth interview. Fifty-seven interviews were conducted with five groups of people comprising of community leaders, government officers, market traders, tourists, and private and public entrepreneurs. For the quantitative method, 430 questionnaires were distributed to community members. Collected data were analyzed by using the descriptive analysis method.

It can be seen from the study that there were many problems in the management of Wat Sai Floating Market including an internal conflict, a prosperity flow into the community area, and a change of traditional living. For these reasons, the floating market and water transportation have become less important and have been replaced by land transportation and commerce on land. Though there were many endeavors to improve Wat Sai Floating Market, they failed because many tourists were disappointed with the place they visited. The number of tourists has decreased, and therefore the traders lost their profit and moved to other places. Until now, there have been no plans to redevelop Wat Sai Floating Market.

Previously, the tourism management of Wat Sai Floating Market was not popular in terms of conservation tourism when compared to the present, and the result was that the market became less affected by tourism activities. Until 2002, the Jomthong District Office started recovering Wat Sai Floating Market and accepted the conservation tourism concepts. As a result, many projects were implemented to preserve and recover the traditions and values of the floating market. In addition, the projects aimed to promote careers, to earn incomes in local areas and to support community participation. Although there have been many projects, Wat Sai Floating Market has not met the serious administration of tourism conservation until now.

The research concluded that applying the conservation tourism theory could not revive Wat Sai Floating Market since the traditional life style has completely gone and therefore there is nothing to conserve. In contrast if a restoration was made for selling general products, it could be possible to revitalize the market. Today many people visit Wat Sai Land Market for shopping. If conservation of this heritage site is important, a memorial party of Wat Sai Floating Market should be organized on a yearly basis.

Keywords: Floating Market, Conservation Tourism, Tourism Management, Cultural Attraction

Downloads

How to Cite

นกแก้ว ธ. (2013). การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษาตลาดน้ำวัดไทร กรุงเทพมหานคร. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 8(1), 49–60. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5082

Issue

Section

Original Articles