การสนับสนุนของครอบครัวในการดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น กรณีศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี

Authors

  • อัญญา ปลดเปลื้อง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  • อัญชลี ศรีจันทร์ โรงพยาบาลบางสะพาน
  • สัญญา แก้วประพาฬ สำนักงานสาธารณสุขไทรโยค

Keywords:

การสนับสนุนของครอบครัว, หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น, การศึกษาปรากฎการณ์วิทยา, Families’ support, teenage pregnancy, phenomenology

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาประสบการณ์ชีวิตของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวในการดูแลขณะตั้งครรภ์ที่สามารถแสดงบทบาทของหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างสมบูรณ์ ใช้วิธีการวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยาการตีความ ตามแนวคิดของมาร์ติน ไฮเดกเกอร์ (Martin Heidegger) เลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง  2 กลุ่ม ได้แก่ (1) สมาชิกในครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 10 คน เป็นชาย 3 คน และหญิง 7 คน และ (2) หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น จำนวน 12 คน ใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ร่วมกับการบันทึกเทป วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดของ Miles & Huberman ผลการวิจัย พบว่า การสนับสนุนจากครอบครัวในการดูแลขณะตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ได้รับ มี 4 ประเด็นหลัก (Themes) ได้แก่1). การสนับสนุนทางอารมณ์ ประกอบด้วย 2 ประเด็นรอง (Categories) ได้แก่ ก.การให้กำลังใจของครอบครัว และ ข.การได้รับคำแนะนำจากครอบครัว 2). การสอนบทบาทความเป็นแม่  3). การคิดในแง่ดี  4). ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง  จากการศึกษาทำให้เข้าใจถึงการสนับสนุนของครอบครัว ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อครอบครัวอื่นในการแสดงออกที่เหมาะสมต่อหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น อันนำมาซึ่งความสุขและการพัฒนาทักษะที่ดีในการปรับตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นให้สามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ

คำสำคัญ : การสนับสนุนของครอบครัว, หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น, การศึกษาปรากฎการณ์วิทยา

 

Abstract

The purpose of this qualitative research was to gain an understanding of the life experiences of pregnant teenagers who got family support in taking on the role of a pregnant woman. The hermeneutic phenomenology technique of Martin Heidegger was used in the study. The key informants consisted of two groups: (1) 10 members of the pregnant teenagers’ families, 3 male and 7 female and (2) 12 pregnant teenagers. The in-depth structured interview was employed and a tape recorder was used to record the interview sessions.  Miles & Huberman’s method was employed to analyze the data.

The major findings of the research were as follows:

1. Emotional support was composed of 2 categories; family support and family suggestion

2. Teaching of mother’s role

3. Positive thinking

4. Self-esteem

The findings provided understanding of the support of pregnant teenagers’ families. This will benefit other families in knowing how to appropriately care for the pregnant teenagers. This also helps teenagers to develop certain skills in adapting themselves to living a normal life in society.

keyword : Families’ support, teenage pregnancy, phenomenology

Downloads

How to Cite

ปลดเปลื้อง อ., ศรีจันทร์ อ., & แก้วประพาฬ ส. (2013). การสนับสนุนของครอบครัวในการดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น กรณีศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 7(3), 1–14. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5079

Issue

Section

Original Articles