ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่องานบริการจุดเดียว มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Keywords:
งานบริการจุดเดียว, ความคิดเห็น, การให้บริการAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่องานบริการจุดเดียว มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 3 ด้าน คือด้านกระบวนการให้บริการ ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ และด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก จำแนกตามเพศ ชั้นปีที่ศึกษา คณะที่ศึกษา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 411 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 52 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบเป็นรายคู่ของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. นักศึกษามีความคิดเห็นต่องานบริการจุดเดียว มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยรวม และเป็นรายด้านว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2.นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง มีความคิดเห็นต่องานบริการจุดเดียว มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยรวมและเป็นรายด้านไม่แตกต่างกัน
3. นักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในชั้นปีต่างกัน มีความคิดเห็นต่องานบริการจุดเดียว มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีความคิดเห็นแตกต่างจากนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และสูงกว่าในงานบริการจุดเดียวด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักศึกษาคณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และคณะศิลปกรรมศาสตร์ มีความคิดเห็นต่องานบริการจุดเดียว มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักศึกษาคณะครุศาสตร์มีความคิดเห็นแตกต่างจากนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมในด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกันมีความคิดเห็นต่องานบริการจุดเดียว มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับปานกลาง มีความคิดเห็นแตกต่างจากนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับต่ำในด้านบุคลากรผู้ให้บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ: งานบริการจุดเดียว ความคิดเห็น การให้บริการ
Abtract
The purpose of this research was to study and compare the perceptions of students towards the one stop service at Suan Sunandha Rajabhat University in three aspects: service process, service providers, location and facilities. The students were classified by gender, class level, faculty, and academic achievement. The samples were 411 undergraduate students who registered in the second semester of the academic year 2010. The instrument used for data collection was a five-point rating-scale questionnaire with 52 items and a reliability of 0.962. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, means, standard deviation, a t-test, one way analysis of variance and Scheffe’s test.
The results were as follows:
1. Students’ perceptions of overall and of each aspect of one stop service at Suan Sunandha Rajabhat University were at a high level.
2. There was no difference between male and female students on their perceptions of overall and of each aspect of one stop service at Suan Sunandha Rajabhat University.
3. The perceptions of students from different class levels towards the overall aspect of one stop service at Suan Sunandha Rajabhat University did not differ. When considering each aspect, it was found that the perceptions of first-year students on the location and facilities of one stop service were significantly different and higher than the forth-year students at a level of .05.
4. The perceptions of students from the Faculty of Education, the Faculty of Humanities and Social Sciences, the Faculty of Science and Technology, the Faculty of Management Science, the Faculty of Industrial Technology, and the Faculty of Fine and Applied Arts towards one stop service at Suan Sunandha Rajabhat University were significantly different at the level of .05. When considering each aspect, it was found that the perceptions of students from the Faculty of Education were significantly different from students from the Faculty of Industrial Technology at a level of .05.
5. The perceptions of students with different academic achievement towards the overall aspect of one stop service of Suan Sunandha Rajabhat University did not differ. When considering each aspect, it was found that the perceptions of students with moderate academic achievement on service providers were significantly different from students with low academic achievement at a level of .05.
Keywords: one stop service, perception, service