ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สาระพลศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ในโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร และโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ปีการศึกษา 2553

Authors

  • สุมาลี ประทุมมา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • วัฒนา สุทธิพันธุ์ คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ไพบูลย์ ศรีชัยสวัสดิ์ คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

นักเรียนช่วงชั้นที่ 3, พลศึกษา, ความคิดเห็น

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สาระพลศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ในโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร  และโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ปีการศึกษา 2553  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน จำนวนทั้งหมด 432 คน ประกอบด้วยนักเรียนในโรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน  และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง  และเป็นนักเรียนจากโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย  โรงเรียนนนทรีวิทยา  และโรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที (t – test independent)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สาระพลศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ปีการศึกษา 2553 ในโรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยรวมมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46 เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้  ด้านผู้สอน  ด้านสื่อ อุปกรณ์และสถานที่  และ ด้านการวัดและประเมินผล พบว่า มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05, 4.24, 3.98 และ 4.10 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55, 0.48, 0.59 และ 0.56 ตามลำดับ

2. ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สาระพลศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ปีการศึกษา 2553 ในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยรวมมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53 เมื่อจำแนกเป็นรายด้านได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้  ด้านผู้สอน  ด้านสื่อ อุปกรณ์และสถานที่  และ ด้านการวัดและประเมินผล พบว่า มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04, 4.09, 3.82 และ 4.02 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.56, 0.57, 0.71 และ 0.68 ตามลำดับ

3. จากการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สาระพลศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ปีการศึกษา 2553 ระหว่างนักเรียนโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร กับ นักเรียน โรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า แตกต่างกันในด้านผู้สอน และ ด้านสื่อ อุปกรณ์และสถานที่ ส่วนด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล  ไม่แตกต่างกัน

คำสำคัญ : นักเรียนช่วงชั้นที่ 3 พลศึกษา ความคิดเห็น

 

Abstract

The purpose of this research was to investigate opinions towards the learning management of the core content of physical education according to the Basic Education Curriculum B.E. 2544 of level-3 students in the demonstration schools under the Office of Higher Education Commission, and schools under Bangkok Educational Service Area Office 1 in the academic year 2010. The informants consisted of 432 students from 3 demonstration schools including Satit (Mathayom) Srinakharinwirot University, Satit (Pratumwan) Srinakharinwirot University, and Satit Kasetsart University and three other schools under the Bangkok Educational Service Area Office 1 including Santiratwitthayalai School, Nonsi Withaya School, and Mathayom Wat Thatthong School selected by simple random sampling. The instrument for collecting data was a questionnaire constructed by the researcher with a reliability of .93.  The data were then analyzed and presented in terms of frequency, percentage, mean, standard deviation and independent t-test.

The findings were as follows:

1.  The opinion towards the learning management of the core content of physical education according to the Basic Education Curriculum B.E. 2544 of level-3 students in the demonstration schools in total was at a high level (\bar{x} = 4.09, S.D. = 0 .46). When considering particular aspects, it was found that those of learning management, instructors, learning materials, place and equipment, and test and measurement were at a high level (\bar{x} = 4.05, S.D. = 0.55; \bar{x} = 4.24, S.D. = 0.48; \bar{x} =3.98, S.D. = 0.59; and \bar{x} = 4.10, S.D. = 0.56, respectively).

2. The opinion towards the learning management of the core content of physical education according to the Basic Education Curriculum B.E. 2544 of level-3 students in the schools under Bangkok Educational Service Area Office 1 in academic year 2010 was at the high level in total (\bar{x} = 3.99, S.D. = 0 .53). When considering particular aspects, it was found that those of learning management, instructors, learning materials, places and equipment, and test and measurement were at a high level (\bar{x} = 4.04, S.D. = 0.56; \bar{x} = 4.09, S.D. = 0.57; \bar{x} = 3.82, S.D. = 0.71; and \bar{x} = 4.02, S.D. = 0.68, respectively).

3.  When comparing those aspects of opinions between students in the demonstration schools and the schools under Bangkok Educational Service Area Office 1, it was found that there was significant difference at .05 level in total. When considering particular aspects, it was found that there were differences of opinion on instructors, learning materials, places and equipment whereas there were no significant differences of opinion on learning management, and test and measurement.

Keywords: Level-3 Students, Physical Education , Opinion

Downloads

How to Cite

ประทุมมา ส., สุทธิพันธุ์ ว., & ศรีชัยสวัสดิ์ ไ. (2013). ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สาระพลศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ในโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร และโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ปีการศึกษา 2553. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 8(1), 1–12. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5076

Issue

Section

Original Articles