การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Keywords:
พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสาเหตุกับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุตามภาวะสันนิษฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และขนาดอิทธิพลระหว่างตัวแปรสาเหตุกับการใช้อินเทอร์เน็ต ตัวแปรสาเหตุที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ สภาพแวดล้อมในการใช้อินเทอร์เน็ต เจตคติต่อการใช้อินเทอร์เน็ต การรับรู้ความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ต แรงจูงใจในการใช้อินเทอร์เน็ต และความรู้ในการใช้อินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 628 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน (Two – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ และเป็นแบบทดสอบ จำนวน 1 ฉบับ มีลักษณะเป็นเลือกตอบ 4 ตัวเลือก เครื่องมือแต่ละฉบับมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .913 .914 . 921 . 903 . 765 และ .798 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. องค์ประกอบของตัวแปรสาเหตุทุกตัวที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุตามภาวะสันนิษฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (x2/df = 1.706, GFI = .976, AGFI = .960, SRMR = .025, PMSEA = .034)
3. พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตได้รับอิทธิพลทางตรงจากเจตคติต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต มากที่สุด รองลงมาได้แก่ สภาพแวดล้อมในการใช้อินเทอร์เน็ต แรงจูงใจในการใช้อินเทอร์เน็ต ความรู้ในการใช้อินเทอร์เน็ต และการรับรู้ความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ต โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .509 .393 .251 .188 และ .097 ตามลำดับ ส่วนตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการใช้อินเทอร์เน็ต ได้แก่ สภาพแวดล้อมในการใช้อินเทอร์เน็ต เจตคติต่อการใช้อินเทอร์เน็ต และ การรับรู้ความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ต โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .199 .087 และ .035 ตามลำดับ ตัวแปรสาเหตุทั้ง 5 ตัว ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตได้ร้อยละ 84.10
คำสำคัญ : พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต
Abstract
This research aimed to study relationships between causal variables and internet usage behavior, verify a causal relationship between the hypothetical and empirical data and study effect size between causal variables and internet usage behavior. The causal variables used in this research included the environment, attitude, self-efficacy, motivation and knowledge in using the internet. The samples were 628 undergraduate students at Suan Dusit Rajabhat University who were selected by two-stage random sampling. The data collection tools included three questionnaires: two were created using rating scales with five levels, while the other was created using a multiple choice pattern. Reliabilities of the instruments were .913, .914, .921, .903, .765 and .798 respectively. The data were statistically analyzed by using path analysis with the LISREL program.
The results of this research were as follows:
1.There were positive relationships, at a .05 level of significance, between the factors of all causal variables and Internet using behavior.
2.The causal relationship model fit with the empirical data.( x2/df = 1.706, GFI =.976, AGFI = .960, SRMR =.025, PMSEA = .034)
3.The Internet usage behavior was most affected by attitudes followed by the environment, motivation, knowledge and self-efficacy with affecting sizes at .509, .393, .251, .188 and .097 respectively. Indirect causal variables on internet usage behavior were the environment, attitude and self-efficacy with affecting sizes at .199, .087 and .035 accordingly. All five causal variables could demonstrate the variance of internet usage behavior at 84.10 percent.
Keywords: Internet Usage Behavior