การพัฒนารูปแบบการสืบสวนคดีอาญากองบัญชาการตำรวจนครบาล

Authors

  • ภูชิต มหาพรหม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Keywords:

รูปแบบการสืบสวนคดีอาญา, criminal investigation model

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาการพัฒนารูปแบบการสืบสวนคดีอาญาของกองบัญชาการตำรวจนครบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนารูปแบบการสืบสวนคดีอาญาของกองบัญชาการตำรวจนครบาลที่มีประสิทธิภาพ และศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการสืบสวนคดีอาญาของกองบัญชาการตำรวจนครบาลจำแนกตามภูมิหลังของผู้ตอบแบบสอบถาม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ สำหรับวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง ประกอบ ด้วยผู้บริหารของกองบัญชาการตำรวจนครบาล 11 คน บุคคลในกระบวนการยุติธรรม 15 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญาวิทยา 5 คน รวมทั้งสิ้น 31 คน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากร ได้แก่ นายตำรวจชั้นสัญญาบัตรที่ทำหน้าที่สืบสวนทั้ง 9 กองบังคับการตำรวจนครบาลจำนวนทั้งสิ้น 152 คน การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ศึกษาได้ใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเพื่อการทดสอบสมมติฐานในการวิจัย

การแสดงความคิดด้านนโยบาย/กฎหมาย/กฎ ระเบียบ บุคลากรจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอว่า ต้องมีการจัดทำระเบียบข้อตกลงกับหน่วยงานในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการบริหารงานบุคคล จะต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้เจ้าหน้าที่มีสายงานที่มีความก้าวหน้าโดยตรง ด้านการตรวจสถานที่เกิดเหตุและสภาพแวดล้อม ต้องให้ความสำคัญกับสถานที่เกิดเหตุและระบุรายละเอียดเกี่ยวกับพยานหลักฐานให้ครบถ้วน ด้านการประสานงานหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านความร่วมมือของประชาชน จะต้องพบปะประชาชนอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างเจตคติที่ดีในความร่วมมือเพื่อป้องกันอาชญากรรมและด้านการใช้วิทยาการในการพิสูจน์หลักฐานจะต้องสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานอย่างครบถ้วน

ความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการสืบสวนคดีอาญาของกอง บัญชาการตำรวจนครบาลในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาในรายด้านพบว่า มีความเห็นด้วยในด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการใช้วิทยาการในการพิสูจน์หลักฐาน มาเป็นอันดับที่ 1 รองลงมา ได้แก่ ด้านการตรวจสถานที่เกิดเหตุและสภาพแวดล้อม อันดับที่ 4 ได้แก่ ด้านนโยบาย/กฎหมาย/กฎระเบียบ อันดับที่ 5 ได้แก่ ด้านความร่วมมือของประชาชน ขณะที่อันดับสุดท้าย ได้แก่ ด้านการประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

แม้ว่านายตำรวจชั้นสัญญาบัตรที่ทำหน้าที่สืบสวนทั้ง 9 กองบังคับการตำรวจนครบาลจะมีลักษณะส่วนบุคคลแตกต่างกัน แต่การทดสอบสมมติฐานความแตกต่างด้านความคิดเห็นดังกล่าวไม่มีความแตกต่างกัน

คำสำคัญ : รูปแบบการสืบสวนคดีอาญา

 

Abstract

The objectives of the research were to study the improvement of the effective criminal investigation model at the Metropolitan Police Bureau and compare the police officers’ attitudes on the Bureau’s development. These viewpoints were categorized based on the personal background of the population.

The study used integrated research methodology (mixed method). In-depth interviews were conducted with 31 key informants: 11 from the Metropolitan Police Bureau’s administrative section, 15 from the criminal justices process section and five experts from the criminology section. The data collection tool was a questionnaire gathered from 152 commissioned officers in nine Metropolitan Police Bureau divisions.  The statistics that were used in the data analysis included percentage, mean and standard deviation.

From the in-depth interviews regarding the policies, laws and rules, the viewpoints were as follows:

1) There must be a Memorandum of Understanding (MOU) with the related organization in order to develop a standard database system.

2) Personal administration should help increase morale and inspire officers who directly work in line of the investigation.

3) Regarding scene investigation, the officers must place importance in details, the scene inspection and other circumstances seriously and thoroughly.

4) Regarding coordination, the coordinators should build good relationships with officers from other organizations.

5) Regarding public cooperation, the Royal Thai Police should continuously establish a good relationship with and a positive attitude towards the public to participate in crime prevention.

6) Regarding the sciences of forensics, there should be full support in tools and necessary equipment in order to complete the operation.

The attitude towards the criminal investigation model of the Metropolitan Police Bureau was at a high level overall. When considering each range, the highest level was personal administration and forensic science. The second and the third levels were the inspection at the scene and circumstances. The fourth level was policy, law and regulation. The fifth level was people’s participation, and the lowest satisfactory level was the coordination with related organizations.

Although the commissioned officers in nine divisions varied in background and personality, the hypothesis testing of attitudes showed a mutual approval in the format of the Metropolitan Police Bureau of Criminal Investigation.

Keywords : criminal investigation model

Downloads

How to Cite

มหาพรหม ภ. (2013). การพัฒนารูปแบบการสืบสวนคดีอาญากองบัญชาการตำรวจนครบาล. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 8(2), 175–188. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5067

Issue

Section

Original Articles