รูปแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกรุงเทพมหานคร

Authors

  • อภิชา ธานีรัตน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • สุริยะ เจียมประชานรากร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • อรทัย ทองอยู่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Keywords:

องค์กรแห่งการเรียนรู้, การจัดการความรู้, learning organization, knowledge management

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏ ในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกรุงเทพมหานคร และ 3) พัฒนารูปแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกรุงเทพมหานครทั้ง 6 แห่ง จำนวน 194 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วย คณบดีและรองคณบดีของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 แห่ง และผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศด้านการจัดการความรู้ จำนวน 3 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แนวทางการสนทนากลุ่มและแบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ    เพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัจจุบันของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เกี่ยวกับระดับพฤติกรรมของบุคลากรคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย การมุ่งสู่ความเป็นเลิศ รูปแบบวิธีการคิด การคิดอย่างเป็นระบบ การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และการเรียนรู้เป็นทีม โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (\bar{x}= 3.89, S.D. = 0.40) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าบุคลากรมีพฤติกรรมอยู่ในระดับมากทุกด้านเช่นกัน

2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ปัจจัยหลักด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ประกอบด้วยปัจจัยย่อยได้แก่ ช่วงอายุ ตำแหน่งทางวิชาการ และประสบการณ์ในการทำงาน ปัจจัยหลักด้านองค์กร ประกอบด้วยปัจจัยย่อย โครงสร้างคณะ วัฒนธรรมของคณะ วิสัยทัศน์ของคณะ การใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ และผู้บริหารคณะ ปัจจัยหลักด้านการเรียนรู้ ประกอบด้วยปัจจัยย่อย2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ปัจจัยหลักด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ประกอบด้วยปัจจัยย่อยได้แก่ ช่วงอายุ ตำแหน่งทางวิชาการ และประสบการณ์ในการทำงาน ปัจจัยหลักด้านองค์กร ประกอบด้วยปัจจัยย่อย โครงสร้างคณะ วัฒนธรรมของคณะ วิสัยทัศน์ของคณะ การใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ และผู้บริหารคณะ ปัจจัยหลักด้านการเรียนรู้ ประกอบด้วยปัจจัยย่อย

รูปแบบการเรียนรู้ และปัจจัยหลักด้านการจัดการความรู้ ประกอบด้วยปัจจัยย่อย การสร้างและแสวงหาความรู้ การจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ การเข้าถึงความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และการเรียนรู้

3. รูปแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 1) ส่วนนำของรูปแบบ ได้แก่ ความเป็นมา วัตถุประสงค์ แนวคิดและหลักการสำคัญในการนำมาสร้างรูปแบบ และเงื่อนไขสู่ความสำเร็จ 2) องค์ประกอบของรูปแบบ 3 องค์ประกอบ คือปัจจัยที่สนับสนุนการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และแนวทางการนำรูปแบบไปปรับใช้

คำสำคัญ : องค์กรแห่งการเรียนรู้, การจัดการความรู้

Abstract

The objectives of the research were to 1) study current conditions and impact factors of learning organization and 2) develop a successful learning organization model for the Faculties of Education of Rajabhat Universities in the Bangkok Metropolitan Region. The samples were 194 personnel from the Faculties of Education at the six Rajabhat Universities in the Bangkok Metropolitan Region selected by simple random sampling. The key informants consisted of deans and associate deans from the Faculties of Education at the six Rajabhat Universities and executives from three organizations using the knowledge-management model. The research instruments included opinion questionnaires, structured interviews, focus group discussion guidelines and model assessment forms. The data were analyzed by means, standard deviation, priority need index, Pearson’s product moment correlation coefficient, stepwise multiple regression analysis and content analysis.

The results showed that:

1.  The current conditions of the Faculties of Education of Rajabhat Universities in the Bangkok Metropolitan Region under the learning organizational concept were personal mastery, mental models, systems thinking, shared vision, and team learning. Overall these concepts were at a high level (\bar{x}= 3.89, S.D. = 0.40). Considering each category, the personnel behaviors were also at a high level.

2.  The main factors influencing the learning organization of the Faculties of Education of Rajabhat Universities in the Bangkok Metropolitan Region were as follows:

1) Personal characteristics, including age, academic position, and work experience;

2) Organization, including faculty organizational structure, the culture and vision of the faculty, the use of learning technology, and executives in the faculty;

3) Learning, including the learning style; and

4) Knowledge management, including knowledge creation and acquisition, knowledge organization, knowledge access, as well as, knowledge sharing and learning.

3.  The learning organization model for the Faculties of Education of Rajabhat Universities in the Bangkok Metropolitan Region included the preface and components of the model. The preface included background, objectives, principles in building the model, and the conditions required for instituting a successful model. There were three components of the model: supporting factors, management strategies and directions to be applied to the learning organization model.

Keywords : learning organization, knowledge management

Downloads

How to Cite

ธานีรัตน์ อ., เจียมประชานรากร ส., & ทองอยู่ อ. (2013). รูปแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกรุงเทพมหานคร. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 8(2), 137–152. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5065

Issue

Section

Original Articles