ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กับพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ต ของนักศึกษา และบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Authors

  • สุระสิทธิ์ ทรงม้า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • สุภารัตน์ คุ้มบำรุง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Keywords:

การรับรู้ข่าวสาร, พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550, พฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ต, Information perception, Computer-Related Crime Act B.E. 2550, Computer and Internet Usage Behavior

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ศึกษาพฤติกรรมการใช้งานคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ตของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เปรียบเทียบการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวพระราชบัญญัติฯ และเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้งานคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ต จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฯ รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับพระราชบัญญัติฯ กับพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฯ จำนวน 521 คน เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม โดยในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป คำนวณค่าสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ค่าที (t-test Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีของ เชฟเฟ่ (Scheffe') และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์(Correlation Coefficient) อย่างง่าย โดยผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

นักศึกษาและบุคลากรส่วนใหญ่มีคอมพิวเตอร์ใช้ที่บ้านพักและสามารถเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตได้      มีประสบการณ์ใช้งานมากกว่า 5 ปี และใช้งานทุกวัน โดยนักศึกษาใช้งานเฉลี่ยวันละ 3-4 ชั่วโมง ช่วงเวลา 16.01–22.00 น.บุคลากร เฉลี่ย 4 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวัน ช่วงเวลา 08.01-16.00 น.ทั้งนักศึกษาและบุคลากรมีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับพระราชบัญญัติฯ โดยรวมจากสื่อมวลชนมากที่สุด และมีพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ตที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติฯ โดยรวมอยู่ในระดับน้อย

กลุ่มนักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับพระราชบัญญัติฯ โดยรวมจากสื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักศึกษาที่ชั้นปีและคณะต่างกันมีการรับรู้โดยรวมจากสื่อบุคคล และสื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักศึกษาที่มีคณะต่างกันมีการรับรู้จากสื่ออินเทอร์เน็ตแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้งานคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ตพบว่า นักศึกษาที่มีเพศ ชั้นปี และคณะต่างกันมีพฤติกรรมการใช้งานคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ตไม่แตกต่างกัน และการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับพระราชบัญญัติฯ ของนักศึกษาจากสื่อบุคคลและสื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยฯ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักศึกษาต้องการให้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพระราชบัญญัติฯ ผ่านทางเว็บไซต์มหาวิทยาลัยฯ มากที่สุด

กลุ่มบุคลากรที่มีเพศต่างกันมีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับพระราชบัญญัติฯ โดยรวมไม่แตกต่างกัน และบุคลากรที่อายุต่างกันมีการรับรู้โดยรวมจากสื่ออินเทอร์เน็ต และสื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และบุคลากรที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีรับรู้โดยรวมจากสื่อมวลชนและสื่ออินเทอร์เน็ตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และบุคลากรที่มีคณะหน่วยงานต่างกันมีการรับรู้โดยรวมจากสื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจากสื่อมวลชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่าบุคลากรที่มีประเภทบุคลากรต่างกันมีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับพระราชบัญญัติฯ โดยรวมจากสื่อมวลชน สื่ออินเทอร์เน็ต และสื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยฯ แตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้งานคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ตของบุคลากร พบว่าบุคลากรที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาต่างกันมีพฤติกรรมการใช้งานคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ตโดยรวมไม่แตกต่างกัน และบุคลากรที่สังกัดคณะ หน่วยงาน และมีประเภทบุคลากรต่างกันมีพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับพระราชบัญญัติฯ ของบุคลากรไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต โดยบุคลากรต้องการให้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับพระราชบัญญัติฯ ผ่านการจัดอบรมมากที่สุด

คำสำคัญ : การรับรู้ข่าวสาร, พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ต

 

Abstract

The objectives of this research were 1) to study and compare the awareness of the Computer-related Crime Act (B.E. 2550) and the Internet behavior of students and personnel of Suan Dusit Rajabhat University based on their demographic, and 2) to study the relationship between their awareness and their behavior. The sample was 521 students and personnel of Suan Dusit Rajabhat University. The research instrument was a questionnaire, and the data were analyzed by descriptive statistics (percentage, arithmetic mean and standard deviation). The research hypothesis was tested by using t-test, one-way ANOVA, Scheffe’s method of pair-wise comparison and simple correlation coefficient.

The research results revealed that most of students and personnel had computers as well as an Internet connection at home. They had more than five years of experience in using the Internet, and they were online every day. The students spent about three to four hours a day from 4 p.m. to 10 p.m. online, while personnel spent more than four hours a day from 8 a.m. - 4 p.m. online. Students and personnel were aware of the information related to the Act mainly because of the mass media. Their risk of infringement of the Act was at a low level.

The hypothesis testing results were as follows.

1. The students who differed in gender were differently aware of the Act through the university public relations at a significant level (p = .05).

2. The students who were in different years of study and faculties were differently aware of the Act through other people and the university public relations at a significant level (p = .01).

3.The students who studied in different faculties were differently aware of the Act through the Internet at a significant level (p = .05).

4.When comparing the students who differed in gender, year of study and faculty, it was found that they were insignificantly different in their Internet behavior.

5.The students’ awareness of the Act through other people and the university public relations positively correlated with their Internet behavior at a significant level (p = 01).

6.The students would like to obtain the information related to the Act from the university website the most.

7.The personnel who differed in gender were insignificantly different in their awareness of the Act.

8.The personnel who differed in age were significantly different in their awareness of the Act through the Internet and university public relations (p = .05).

9.The personnel who differed in their educational backgrounds were significantly different in their awareness of the Act through the mass media and the Internet (p = .01).

10.The personnel who worked in different faculties were significantly different in their awareness of the Act through the university public relations (p = .01) and through the mass media (p = .05).

11.The personnel who worked in different positions were significantly different in their awareness of the Act through the mass media, the Internet and the university public relations (p = .01).

12.When comparing the personnel who differed in gender, age and educational background, it was found that they were insignificantly different in their Internet behavior. However, the personnel who worked in different positions and faculties were significantly different in their Internet behavior (p = .01).

13.The personnel’s awareness of the Act insignificantly correlated with their Internet behavior at a significant level.

14.The personnel would like to obtain the information related to the Act from training the most.

Keywords : Information perception, Computer-Related Crime Act B.E. 2550, Computer and Internet Usage Behavior

Downloads

How to Cite

ทรงม้า ส., & คุ้มบำรุง ส. (2013). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กับพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ต ของนักศึกษา และบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 8(2), 91–106. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5061

Issue

Section

Original Articles