ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์ 1 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Authors

  • สินีนาฏ หงส์ระนัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • นิรามัย อุสาหะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Keywords:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, พฤติกรรมของผู้เรียน, เจตคติต่อวิชาที่เรียน, พฤติกรรมการสอนของอาจารย์, learning achievement, learners’ behaviors, attitudes towards studying, instructor’s behaviors

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ปีการศึกษา 2552 จำนวน 64 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้เรียน เจตคติต่อวิชาที่เรียน พฤติกรรมการสอนของอาจารย์ เจตคติต่อการจัดการเรียนการสอน และปัจจัยที่สนับสนุนการเรียนการสอน  ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติคือ ค่าเฉลี่ย (\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้เรียน  นักศึกษามีพฤติกรรมการเรียนวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( \bar{x} = 3.73  S.D. = 0.80)  และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักศึกษามีพฤติกรรม ไม่ขาดเรียนวิชานี้ ถ้าไม่เจ็บป่วยหรือมีกิจธุระที่จำเป็น อยู่ในระดับมากที่สุด ( \bar{x} = 4.66  S.D. = 0.71)

2. ปัจจัยด้านเจตคติต่อวิชาที่เรียน  นักศึกษามีเจตคติต่อวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( \bar{x} = 3.60  S.D. = 0.72)  และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า เจตคติเกี่ยวกับความสำคัญของวิชาต่อการพยาบาล อยู่ในระดับมากที่สุด ( \bar{x} = 4.69  S.D. = 0.50)

3. ปัจจัยด้านพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ในวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ( \bar{x} = 4.44  S.D = 0.63)  และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ในด้านการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี อยู่ในระดับมากที่สุด  ( \bar{x} = 4.72  S.D = 0.48)

4. ปัจจัยด้านเจตคติต่อการจัดการเรียนการสอน พบว่า นักศึกษามีเจตคติต่อการจัดการเรียนการสอนในวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( \bar{x} = 3.97  S.D. = 0.84 )  และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ   พบว่าเจตคติต่อการจัดการเรียนการสอนในการเรียนภาคทฤษฎีควบคู่ไปกับการฝึกทดลองปฏิบัติทำให้เกิดการพัฒนาทักษะในส่วนของทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่ทั้ง 2 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ( \bar{x} = 4.25  S.D. = 0.83)

5. ปัจจัยที่สนับสนุนการเรียนการสอนพบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( \bar{x} = 3.87  S.D. = 0.86 )  และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นต่อบรรยากาศด้านกายภาพโดยทั่วไปของมหาวิทยาลัยเอื้อต่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด  ( \bar{x} = 4.33  S.D. = 0.71)

คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, พฤติกรรมของผู้เรียน, เจตคติต่อวิชาที่เรียน, พฤติกรรมการสอนของอาจารย์

 

Abstract

This classroom action research aimed to study factors influencing learning achievement of nursing science students in the Maternal-Child Nursing and Midwifery 1 Course. The population was second year nursing science students who studied in the Faculty of Nursing Science of Suan Dusit Rajabhat University in the academic year 2010. The samples consisted of 64 students. Data were collected by a self-administered questionnaire. The questionnaire was designed to study five factors: learners’ behaviors, attitudes towards learning, instructor’s behaviors, attitudes towards classroom management, and other learning supports. Data were analyzed by descriptive statistics (mean and standard deviation).

Research findings were as follows:

1. Regarding the learner factor in general, it was rated at a high level (M = 4.37, SD = 0.09). When considering sub-factors, student attendance was rated the highest (M = 4.66, SD = 0.71).

2. Attitudes towards learning in general was rated at a high level (M = 3.60, SD = 0.12). The significance of this course towards nursing study was rated the highest among the sub-factors (M = 4.69, SD = 0.50).

3. Instructor’s behavior was rated at a high level (M = 4.44, SD = 0.11). When considering sub-factors, teacher’s lesson preparation was rated the highest (M = 4.72, SD = 0.48).

4. Attitudes towards classroom management was rated at a high level (M = 3.79, SD = 0.14). Well-balanced proportion of theory and practice was rated the highest among the sub-factors (M = 4.25, SD = 0.83).

5. Other learning supports was rated at a high level (M = 3.87, SD = 0.08). When considering sub-factors, environment in the university which supported learning was rated the highest (M = 4.33, SD = 0.71).

Keywords : learning achievement, learners’ behaviors, attitudes towards studying, instructor’s behaviors

 

 

Downloads

How to Cite

หงส์ระนัย ส., & อุสาหะ น. (2013). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์ 1 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 8(2), 77–90. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5060

Issue

Section

Original Articles