ผลของรูปแบบการเรียนแบบคู่คิดคู่ปรึกษาต่อการทำงานเป็นทีม การรับรู้ความสามารถของตนเอง และ ทักษะการตัดสินใจในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต

Authors

  • ฐิตาพร เขียนวงษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต
  • มนสภรณ์ วิทูรเมธา คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุย์

Keywords:

รูปแบบการเรียน, คู่คิดคู่ปรึกษา, นักศึกษาพยาบาล

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest design) เพื่อศึกษาผลของการเรียนแบบคู่คิดคู่ปรึกษาต่อการทำงานเป็นทีม การรับรู้ความสามารถของตนเอง และทักษะการตัดสินใจในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล จำนวน 30 คน ในวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2  ที่หอผู้ป่วย    เวชศาสตร์ฉุกเฉิน  ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วยรูปแบบการเรียนแบบคู่คิดคู่ปรึกษา  และเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล  และแบบสอบถามพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม  การรับรู้ความสามารถของตนเอง และทักษะการตัดสินใจ แบบสอบถามทั้งหมด ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจสอบความเที่ยงด้วยสถิติสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคได้ค่า .82 ,.70 ,.71 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที  (Paired t-test)  และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนแบบคู่คิดคู่ปรึกษาทำให้นักศึกษาพยาบาลทำงานเป็นทีม รับรู้ความสามารถของตนเอง และทักษะการตัดสินใจ แตกต่างจากก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .00, .04 , .01 (p.=00,p=.04 และ p=.01 ตามลำดับ) และผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า นักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจรูปแบบการเรียนแบบคู่คิดคู่ปรึกษา  มีเพื่อนคอยชี้แนะในสิ่งที่ถูกต้อง ช่วยให้ทำงานได้ถูกต้อง รวดเร็วและมีความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วย เรียนรู้ได้สนุกสนาน พัฒนาตนเองให้เป็นเพื่อนคู่คิดที่ดี   และทำงานร่วมกันเป็นทีม การวิจัยนี้สนับสนุนการใช้รูปแบบคู่คิดคู่ปรึกษาในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล

คำสำคัญ: รูปแบบการเรียน  คู่คิดคู่ปรึกษา  นักศึกษาพยาบาล

 

Abstract

This study was quasi-experimental research in the form of one group pretest-posttest design. The objective of the research was to investigate the effect of the Buddy Learning Model on team work, perceived self-efficacy and decision making skills in the nursing practicum of nursing students at Suan Dusit Rajabhat University. The samples were 30 students who were purposively recruited for this study. All of them are in practice in the emergency department in the first semester of the 2011 academic year. The research instruments consisted of the Buddy Learning Model. Data were collected by using a demographic data form, the team work behavior scale, perceived self-efficacy scale and decision making skills scale. The content validity of all instruments was confirmed by a panel of experts. The internal consistency of the team work behavior scale was .82 while the perceived self-efficacy and decision making skills scale were .70 and .71 respectively. Quantitative data were analyzed by using descriptive statistics and pair T-test and qualitative data were analyzed by content analysis.

The findings revealed that the Buddy Learning Model affected the nursing students in their team work, perceived self-efficacy and decision making skills. The mean scores of team working, perceived self-efficacy and decision making skills were significantly different in the pre and post models (p=.00, p=.04, p=.01 respectively). The results of the qualitative data showed that most of the nursing students were satisfied with the buddy learning process; they had a good friend to suggest the right thing, it facilitated working faster and more accurately, it helped them gain self-confidence in nursing care, enjoy their study, improve themselves as partners and start to work in a team. This research supported the use of the Buddy Learning Model for nursing students’ practicum.

Keywords: Learning Model, Buddy, Nursing students

 

Downloads

How to Cite

เขียนวงษ์ ฐ., & วิทูรเมธา ม. (2013). ผลของรูปแบบการเรียนแบบคู่คิดคู่ปรึกษาต่อการทำงานเป็นทีม การรับรู้ความสามารถของตนเอง และ ทักษะการตัดสินใจในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 8(3), 117–130. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5059

Issue

Section

Original Articles