ความสามารถในการใช้มือของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยเมล็ดพืช

Authors

  • ณภัทสรณ์ นรกิจ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • เยาวพา เดชะคุปต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • จิราภรณ์ บุญส่ง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

ความสามารถในการใช้มือ, กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยเมล็ดพืช

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการใช้มือของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยเมล็ดพืช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กชาย–หญิง อายุ 5 – 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ของโรงเรียนสังฆประชานุสสรณ์ สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียนและได้ทดสอบความสามารถในการใช้มือโดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยคัดเลือกเด็กที่มีคะแนนความสามารถในการใช้มือใน 15 อันดับสุดท้ายกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง โดยทำการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ในวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา10.00–10.30น. รวม 24 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยเมล็ดพืช และแบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้มือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อสอบกับจุดประสงค์ (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 และมี แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ One – Group Pretest – Posttest Design การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้  t – test for  Dependent Samples

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความสามารถในการใช้มือของเด็กปฐมวัยภายหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยเมล็ดพืชสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยเมล็ดพืช

2. ความสามารถในการใช้มือของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยเมล็ดพืชสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ : ความสามารถในการใช้มือ  กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยเมล็ดพืช

 

Abstract

This research aimed to study the effects of creative grain-based art activities on the hand skill development of children in early childhood. The subjects in this study were 15 male and female students, aged 5-6. They were purposively selected from students who received low scores in a hand skill test.  They were studying in kindergarten 2 level, in the first semester of academic year 2011, at Sangkaprachanussorn School under the supervision of Nongjok District Offices in the Bangkok Metropolitan Administration. The design of this research was a one group pretest-posttest study. The research instruments included a lesson plan for creative grain-based art activities and a hand skill test which were both constructed by the researcher. The subjects received 24 sessions of treatment in total. Each session lasted 30 minutes on Monday, Wednesday and Friday from 10:00 a.m. to 10:30 a.m. for eight weeks. The data was analyzed by dependent samples t-test.

The results of the study revealed that:

1. the subjects had higher hand skills after receiving the treatment; and

2. the subjects’ hand skills before and after receiving the treatment was significantly different at a level of statistical significance, p = .01.

Keywords:  hand skills, Creative Grain-Based Art Activities

 

Downloads

How to Cite

นรกิจ ณ., เดชะคุปต์ เ., & บุญส่ง จ. (2013). ความสามารถในการใช้มือของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยเมล็ดพืช. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 8(3), 103–116. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5057

Issue

Section

Original Articles