ศึกษาความเชื่อมั่นในตนเองของนักกีฬา และเทคนิคของผู้ฝึกสอนที่ช่วยพัฒนาความมั่นใจ ของนักกีฬายิมนาสติกศิลป์ ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 39
Keywords:
ความเชื่อมั่นในตนเอง, เทคนิค, ความมั่นใจ, กีฬาแห่งชาติAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเชื่อมั่นในตนเองของนักกีฬา และเทคนิคของผู้ฝึกสอนที่ช่วยพัฒนาความมั่นใจของนักกีฬายิมนาสติกศิลป์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักกีฬา และผู้ฝึกสอนกีฬายิมนาสติกศิลป์ ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 39 โดยแยกเป็นนักกีฬาจำนวน 120 คน (ชาย = 39 คน และหญิง = 81 คน) และผู้ฝึกสอนจำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposively Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบทดสอบความวิตกกังวลตามสถานการณ์ (Revised Competitive State Anxiety Inventory – 2: CSAI – 2R) (Cox; Martens; & Russell. 2003) มีค่าความเที่ยงตรง (Validity) ระหว่าง .70 - .80 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง ระหว่าง .87 - .90 เพื่อใช้วัดความเชื่อมั่นในตนเองของนักกีฬายิมนาสติกศิลป์ และแบบสอบถามเทคนิคของผู้ฝึกสอน ที่ช่วยพัฒนาความมั่นใจ ของนักกีฬายิมนาสติกศิลป์ วิเคราะห์ข้อมูล โดย หาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักกีฬายิมนาสติกศิลป์ชาย และหญิง ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 39 ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-Confidence) มีความเชื่อมั่นในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง เช่นเดียวกัน โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 27.42 และ 26.40 ตามลำดับ
2. ค่าเฉลี่ยของความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักกีฬายิมนาสติกศิลป์ชาย และหญิง ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 39 พบว่ามีความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-Confidence) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
3. ค่าเฉลี่ยของคะแนนเทคนิคที่ผู้ฝึกสอนนำไปปฏิบัติกับนักกีฬา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่เทคนิคเสริมสร้างพฤติกรรมฮึกเหิม เทคนิคการควบคุมอารมณ์ เทคนิคการตั้งเป้าหมาย เทคนิคแรงจูงใจ เทคนิคการควบคุมความวิตกกังวลและความเครียดในการแข่งขัน เทคนิคที่ทำให้นักกีฬามีจิตใจเข้มแข็ง และเทคนิคการเตรียมสภาพจิตใจก่อนการแข่งขัน โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.45, 4.32, 4.02, 3.99, 3.93, 3.90และ 3.76 ตามลำดับ
4. ค่าเฉลี่ยของคะแนนเทคนิคที่ผู้ฝึกสอนนำไปปฏิบัติกับนักกีฬา โดยส่วนรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ เทคนิคการฝึกจิตใจและจินตภาพ เทคนิคเสริมแนวคิดทางบวก และเทคนิคเสริมความตั้งใจและสมาธิ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.36, 3.33, และ 3.08 ตามลำดับ
คำสำคัญ : ความเชื่อมั่นในตนเอง เทคนิค ความมั่นใจ กีฬาแห่งชาติ
Abstract
The purposes of this research were to study the self-confidence of male and female gymnasts and the techniques used by the coaches in order to develop their confidence. The sample consisted of 120 gymnasts (39 males and 81 females) and 20 gymnastic coaches who participated in the 39th National Games. They were selected by purposive sampling. The research instrument used to collect data from the gymnasts was the Revised Competitive Sport Anxiety Inventory – 2 (CSAI – 2R) with validity values between .70 - .80 and the reliability for self-confidence test between .87 - .90. The instrument used to collect data from the coaches was a questionnaire. The data were analyzed by mean, standard deviation, and t-test.
The results were as follows:
1. The self-confidence of male and female artistic gymnasts participating in the 39th National Games were at the moderate levels with the mean scores of 27.42 and 26.40 respectively;
2. The self-confidence of male and female artistic gymnasts participating in the 39th National Games were significantly different, p = .05;
3. Coaching techniques that were highly used with the gymnasts included Attention Assertive Behavior (4.45), Emotion Control (4.32), Goal Setting (4.02), Individual Motivation (3.99), Anxiety and Stress Control in Competition (3.93), Mental Toughness (3.90), and Mental Preparation Strategies (3.76);
4. Coaching techniques that were moderately used with the gymnasts included Mental Imagery Practice (3.36), Positive Attitude (3.33), and Attention Focus Concentration (3.08).
Keywords: Self-confidence, techniques, confidence, National Games