ทัศนะของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Keywords:
ทัศนะของนักศึกษา, การจัดการเรียนการสอน, วิชาคอมพิวเตอร์, students’ opinions towards, learning and teaching process, computer instructionAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาทัศนะของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านผู้สอน ด้านกระบวนการเรียนการสอนด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผล 2) เปรียบเทียบทัศนะของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำแนกตามเพศ ระดับชั้นปี สาขาวิชา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยนักศึกษาระดับปริญญาตรีของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 358 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 60 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.992 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษามีทัศนะต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในด้านเนื้อหา ด้านผู้สอน ด้านกระบวนการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียน การสอน และด้านการวัดและประเมินผล โดยรวมและในแต่ละด้านว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก
2. นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง มีทัศนะต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยรวมและในแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน
3. นักศึกษาที่ศึกษาในชั้นปีต่างกัน มีทัศนะของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีต่างกัน มีทัศนะต่อ การจัดการเรียนการสอน ด้านเนื้อหา ด้านกระบวนการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านผู้สอน ไม่แตกต่างกัน
4. นักศึกษาที่ศึกษาในกลุ่มสาขาวิชาต่างกัน มีทัศนะต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยรวมและ ในแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน
5. นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน มีทัศนะต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยรวมและ ในแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน
คำสำคัญ : ทัศนะของนักศึกษา, การจัดการเรียนการสอน, วิชาคอมพิวเตอร์
Abstract
The purposes of this study were twofold. The first was to investigate students’ opinions towards computer instruction by the Faculty of Science and Technology at Suan Sunandha Rajabhat University for the overall and each of these five aspects: curriculum, instructors, learning and teaching processes, instructional media, and measurement and evaluation. The second was to compare students’ opinions towards the computer instruction overall and in each aspect classified by gender, class levels, academic majors, and academic achievements. The sample consisted of 358 undergraduate students enrolled in the Faculty of Science and Technology, Suan Sunandha Rajabhat University. The instrument used for collecting data was a five-point Likert-type rating scale questionnaire of 60 items with an alpha reliability coefficient of 992. The statistical processes employed in data analysis included frequency, percentage, means, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance and Scheffe’s method.
The research findings revealed that:
1. The students’ opinions towards the computer instruction of the Faculty of Science and Technology at Suan Sunandha Rajabhat University for the overall and for each aspect of content, learning and teaching processes, instructional media and measurement and evaluation were at a high level.
2. There were no significant differences between males and females on their opinions towards computer instruction.
3. Students from different class levels did not differ on their overall opinions towards computer instruction. When compared to each aspect, there was a significant difference on the aspect of instruction but there were not any differences on the other aspects.
4. Students with different academic majors had significant differences for the overall and each aspect.
5. There were no significant differences among students with different academic achievements.
Keyword: students’ opinions towards, learning and teaching process, computer instruction