การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งในพื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

Authors

  • ประวิทย์ จันทร์แฉ่ง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Keywords:

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, ความเสี่ยงภัยแล้ง, อำเภอกำแพงแสน

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งในพื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งและวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งรวมทั้งหาสมการความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ใช้ในการศึกษากับความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งในพื้นที่ศึกษา (Y) โดยใช้ปัจจัยลักษณะทางธรรมชาติได้แก่ ปริมาณน้ำฝนต่อปี (x1) ปริมาณน้ำบาดาล (x2) ลักษณะเนื้อดิน (x4) การระบายน้ำของดิน (x5) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางกายภาพที่มนุษย์สร้างขึ้นได้แก่ ระยะห่างจากคลองชลประทาน (x3) และการใช้ประโยชน์จากที่ดิน (x6) ทำการศึกษาด้วยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นและการวิเคราะห์เชิงพื้นที่โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งในพื้นที่ศึกษามากที่สุดที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 คือ การระบายน้ำของดิน (x5) รองลงมาเป็นลักษณะเนื้อดิน (x4) (Correlation Coefficient : r = 0.911, 0.852) สำหรับปัจจัยอื่น ๆ  มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งน้อย โดยมีพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งเรียงลำดับจากมากไปน้อยคิดเป็นพื้นที่ 39.26, 356.85 และ 68.31 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ ได้สมการที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งในพื้นที่ศึกษาคือ  Y = 1.535 + 0.938X1 + 0.0982X2 + 0.999X3 + 1.006X4 + 0.989X5 + 1.039X6 ซึ่งสมการนี้สามารถอธิบายความผันแปรของความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งในพื้นที่ศึกษาได้ร้อยละ 100.0 (R2=1.000) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

คำสำคัญ : ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  ความเสี่ยงภัยแล้ง  อำเภอกำแพงแสน

 

Abstract

This research aimed to study factors which influenced drought and analyze the risk of drought including the equation of the relationship between the factors and risk of drought in the areas of Kamphaeng Saen District in Nakorn Pathom Province. The factors related to natural features were the annual rainfall(x1), the amount of ground water(x2), soil texture(x4), and drainage(x5). Factors related to man-made physical characteristics were irrigation canals(x3) and land use(x6). These factors were studied using Linear Regression Analysis and Spatial Analysis with the application of the Geographic Information System. The results revealed that factors influencing drought risk at the statistically significant level (95%) were drainage (X5) and soil texture (X4) with high correlation coefficients (r = 0.911 and r = 0.852, respectively). The other factors had a small effect on drought risk areas. The drought risk areas from the highest to the lowest levels covered the areas of 39.26, 346.85 and 68.31 square kilometers respectively. The equation related to the factors influencing drought occurrence and drought risk were Y = 1.535 + 0.938X1 + 0.0982X2 + 0.999X3 + 1.006X4 + 0.989X5 + 1.039X6. This equation can explain the variation of drought risk in the study areas by 100% (R2=1.000) at the significant level of 0.05.

Keywords : Geographic Information System (GIS), Drought Risk, Kamphaeng Saen District

 

Downloads

How to Cite

จันทร์แฉ่ง ป. (2013). การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งในพื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 8(3), 29–38. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/5047

Issue

Section

Original Articles