การใช้วารสารที่จัดให้บริการโดยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์
Keywords:
การใช้วารสาร, วารสารสิ่งพิมพ์, วารสารอิเล็กทรอนิกส์, usage of journal, journal, E-journalAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้ ความต้องการ สภาพปัญหาและอุปสรรคในการใช้วารสารที่จัดให้บริการ โดยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ ซึ่งสุ่มเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางเลขสุ่ม ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และทำการสุ่มแบบไม่เจาะจงแบบชั้นภูมิได้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 397 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.972 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way analysis of variance) ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ (ร้อยละ 86.1) เข้าใช้วารสารสิ่งพิมพ์ในช่วงวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 12.00-13.00 น. มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบการศึกษาตามสาขาวิชา เพื่อค้นคว้า ใช้อ้างอิงเพื่อทำรายงาน หรือทำวิจัยและอาจารย์ผู้สอนมอบหมาย ส่วนปัญหาที่พบคือ วารสารรายชื่อที่ต้องการใช้ไม่มีให้บริการ และวารสารที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษามีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการ สำหรับการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ (ร้อยละ 61.0) ไม่ใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากไม่ทราบว่ามีบริการวารสารอิเล็กทรอนิกส์ และไม่สะดวกในการเข้าใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สำนักวิทยบริการฯ จัดให้บริการมีการใช้ในระดับปานกลาง ส่วนปัญหาที่พบคือ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตล่าช้า ต้องรอนาน
คำสำคัญ : การใช้วารสาร, วารสารสิ่งพิมพ์, วารสารอิเล็กทรอนิกส์
Abstract
This research aimed to study the conditions of use, needs and problems of Rajabhat University students in the Rattanakosin group when accessing the journal database provided by the Office of Academic Resources and Information Technology. Three Rajabhat Universities – Phranakorn Rajabhat University, Suan Sunandha Rajabhat University and Suan Dusit Rajabhat University – were randomly selected using a Table of Random Number. The stratified random sampling method was used to select 397 undergraduate students from these three universities. Questionnaires with an alpha reliability co-efficient of 0.972 were used to gather information. The data were analyzed using frequency, percentage, means, standard deviation, t-test and one-way analysis of variance. It was found that most students (86.1 %) tended to access the journal database from Monday to Friday from 12:00 p.m. to 1:00 p.m. The purposes of the journal use were for education, reference, research and teachers’ assignments. The problems included unavailable and insufficient relevant journals. Regarding electronic journals use, most students (61.0 %) did not know that electronic journals were available and they were inconvenient for them to use. The electronic journal database was used at moderate level and the problems concerned the delay of Internet connection.
Keywords : usage of journal, journal, E-journal