การเรียนร่วมกันแบบผสมผสานและใช้โครงงานเป็นฐานที่ส่งผลต่อการสร้างความรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Keywords:
การเรียนร่วมกันแบบผสมผสาน, โครงงานเป็นฐาน, การสร้างความรู้Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนร่วมกันแบบผสมผสานและใช้โครงงานเป็นฐาน ของนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต 2) ศึกษาการสร้างความรู้หลังจากเรียนด้วยวิธีการเรียนร่วมกันแบบผสมผสานและใช้โครงงานเป็นฐาน ของนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และ3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยวิธีการเรียนร่วมกันแบบผสมผสานและใช้โครงงานเป็นฐาน ของนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ระบบการจัดการองค์ความรู้ ปีการศึกษา 2553 จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ บทเรียนออนไลน์ Xedu:LMS มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต แบบวัดการสร้างความรู้ Vander Meijdem’ coding scheme และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธี การคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ซึ่งผลการศึกษาพบว่าการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนร่วมกันแบบผสมผสานและใช้โครงงานเป็นฐานสามารถสร้างความรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้กับนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต การสร้างความรู้มีกระบวนการรับรู้ด้านการให้ข้อมูลสารสนเทศมากที่สุดซึ่งอยู่ในกลุ่มการสร้างความรู้ขั้นต่ำ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05
คำสำคัญ : การเรียนร่วมกันแบบผสมผสาน โครงงานเป็นฐาน การสร้างความรู้
Abstract
This research aimed to 1) conduct the teaching and learning using blended collaborative learning and the project-based approach for students in the Program of Information Technology at Suan Dusit Rajabhat University; 2) study the knowledge construction of students after undertaking the course using blended collaborative learning and the project-based approach, and 3) compare students’ learning achievement before and after undertaking the course using the aforementioned methods. The sample group used in this study consisted of 48 undergraduate students registered in the Knowledge Management System course in the Information Technology program at Suan Dusit Rajabhat University during the 2010 academic year. The research instruments were online lessons, Xudu Learning Management System (LMS), the Vander Meijdem’ coding scheme knowledge construction evaluation form, and an achievement test form. The statistical analysis tools employed were percentage, mean, standard deviation and dependent t-test. The results of the study showed that blended collaborative learning and project-based approaches enhanced students’ knowledge construction and learning achievement. Knowledge construction, or the cognitive aspects on giving information, which was the lowest level of knowledge construction, received the highest score. After undertaking this course, the students’ learning achievements were significantly higher than their pre-test scores at the .05 level.
Keywords: blended collaborative learning, project base, knowledge construction