โมเดลแข่งขันการวัดแบบแยกและรวมองค์ประกอบของบริบทโรงเรียนและ คามเหนื่อยหน่ายของครู
Keywords:
โมเดลการแข่งขัน, บริบทของโรงเรียน, ความเหนื่อยหน่ายของครูAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบความตรงของโมเดลการวัดแบบรวมและแบบแยกองค์ประกอบของตัวแปรบริบทโรงเรียนกับตัวแปรความเหนื่อยหน่ายของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 845 คน ประกอบด้วยครูผู้สอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัดสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้มาโดยการสุ่ม 3 ขั้นตอน ได้แก่การสุ่มจังหวัด การสุ่มโรงเรียน และการสุ่มครู เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่าโมเดลการวัดแบบรวมองค์ประกอบของตัวแปรบริบทโรงเรียน และความเหนื่อยหน่ายของครูมีค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ต่ำกว่าแสดงว่าโมเดลการวัดแบบรวมองค์ประกอบมีความตรวจมากกว่า และเมื่อพิจารณาผลต่างค่าไค-สแควร์หารด้วยผลต่างขององศาอิสระของโมเดลการวัดแบบรวมและแยกองค์ประกอบของตัวแปรบริบทโรงเรียนและความเหนื่อยหน่ายของครูพบว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่าโมเดลการวัดแบบแยกและรวมองค์ประกอบไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามโมเดลการวัดแบบรวมองค์ประกอบของตัวแปรบริบทโรงเรียนและความเหนื่อยหน่ายของครูสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากกว่า
คำสำคัญ: โมเดลการแข่งขัน บริบทของโรงเรียน ความเหนื่อยหน่ายของครู
Abstract
This study aimed to analyze and compare two models between the combined and
the separated measuring factors of school context and teacherûs burnout. Participants were
845 primary and secondary teachers under the Office of Basic Education Commission,
Ministry of Education. The 3 stages of random sampling were applied to derive participants
regarding provinces, schools, and teachers. A questionnaire was distributed to the
respondents. Findings revealed that: 1) the combined measuring factors of school context
and teacherûs burnout had lower relative chi-square indicating the combined measuring
factors had a better model-data fit than the separated one; and 2) it was not statistically
significant regarding the difference of the chi-square values divided by difference of degree
of freedom of the combined and separated measuring factors of school context and teacherûs
burnout. This meant the combined and separated measuring factor models were not
different. However, the combined measuring factors of school context and teacherûs burnout
had a better model-data fit than the other.
Keywords: competing model, school context, teacherûs burnout