การประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายค่ากำจัดขยะมูลฝอยจากบ้านเรือน: กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

Authors

  • บุษกร ถาวรประสิทธิ์ และ ศุภวรรณ ฮ่อซี่

Keywords:

ความเต็มใจจ่าย, การกำจัดขยะมูลฝอย

Abstract

บทคัดย่อ


การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายค่ากำจัดขยะมูลฝอย และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายค่ากำจัดขยะมูลฝอยประเภทต่างๆ จากครัวเรือนในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดสงขลา ด้วยวิธีสมมติเหตุการณ์ให้ประมาณค่า (Contingent Valuation Method: CVM) รูปแบบคำถามแบบปลายเปิด โดยรวบรวมข้อมูลจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ครัวเรือน ผลการศึกษาพบว่าขยะมูลฝอยประเภทขยะทั่วไป/ขยะแห้ง ครัวเรือนมีความเต็มใจจ่ายค่ากำจัดขยะเท่ากับ 30.70 บาท/เดือนโดยปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่าย ได้แก่ เพศและระดับการศึกษา ขยะมูลฝอยประเภทขยะอินทรีย์/ขยะเปียก ครัวเรือนมีความเต็มใจจ่ายค่ากำจัดขยะเท่ากับ 26.91 บาท/เดือน โดยปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายได้แก่ เพศและระดับการศึกษา ขยะมูลฝอยประเภทขยะรีไซเคิล/ขยะขายได้ ครัวเรือนมีความเต็มใจจ่ายได้แก่ เพศและระดับการศึกษา ขยะมูลฝอยประเภทขยะรีไซเคิล/ขยะรายได้ ครัวเรือนมีความเต็มใจจ่ายค่ากำจัดขยะเท่ากับ 27.03 บาท/เดือน โดยปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายได้แก่ เพศและขยะมูลฝอยประเภทขยะอันตราย ครัวเรือนมีความเต็มใจจ่าค่ากำจัดขยะเท่ากับ 37.38 บาท/เดือน โดยปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายได้แก่ รายจ่ายของครัวเรือนและระยะห่างของบ้านเรือนจากถนนใหญ่ซึ่งส่วนใหญ่ครัวเรือนจะมีความเต็มใจจ่ายค่ากำจัดขยะมูลฝอยทั้ง 4 ประเภท ดังนั้นแสดงว่าเทศบาลนครสงขลาสามารถปรับอัตราค่าธรรมเนียมให้สูงกว่าเดิมและจัดเก็บตามประเภทของขยะมูลฝอยได้ซึ่งสอดคล้องกับความเต็มใจจ่ายของครัวเรือน

คำสำคัญ : ความเต็มใจจ่าย การกำจัดขยะมูลฝอย


Abstract

The purpose of this study was to determine the willingness to pay (WTP) for waste disposal and to investigate factors which may influence the WTP for disposal of different types of waste. The WTP was estimated by Contingent Valuation Method (CVM) through an open-ended questionnaire with 400 households of Muang district, Songhkla province. The study found that the WTP for solid waste was 30.70 baht per month while the WTP for organic waste was 26.91 baht per month. Both WTPs were significantly influenced by gender and level of education. The WTP for recycled waste was 27.03 baht per month. The significant factor was gender. The WTP for hazardous waste was 37.38 baht per month. The significant factors were householdûs expenditure and distance from their houses to main streets. The result suggested that the Songkhla Municipality could increase waste disposal rates and differentiate them based on types of waste.

Keywords: willingness to pay, waste disposal

Downloads

How to Cite

และ ศุภวรรณ ฮ่อซี่ บ. ถ. (2013). การประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายค่ากำจัดขยะมูลฝอยจากบ้านเรือน: กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 9(1), 1–16. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/29316

Issue

Section

Original Articles