ความสามารถในการสื่อสารแบบวัจนภาษาของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา
Keywords:
การสื่อสาร, วัจนภาษา, จิตปัญญาAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสามารถในการสื่อสารแบบวัจนภาษาของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของเครือข่ายที่ 6 อำเภอจอมบึง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1 จำนวน 8 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนวัดสูงเนินราษฎรบำรุง จำนวน 1 ห้องเรียน มี 15 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก เพื่อเป็นกลุ่มทดลองกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ
1. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา
2. เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการสื่อสารแบบ วัจนภาษาที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 แบบที่ใช้ในการวิจัย One-Group Pretest-Posttest Designและ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ t-test for Dependent sample
ผลการศึกษาพบว่า
1. ระดับความสามารถในการสื่อสารแบบวัจนภาษาของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญาโดยรวมอยู่ในระดับดี ส่วนรายด้าน พบว่า ด้านความเข้าใจภาษาอยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านการสร้างประโยค การสนทนาโต้ตอบ และความคล่องภาษา อยู่ในระดับดี
2. ระดับความสามารถในการสื่อสารแบบวัจนภาษาของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิตปัญญาสูงขึ้นกว่าก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิตปัญญาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ:การสื่อสาร, วัจนภาษา, จิตปัญญา
Abstract
The purpose of this study was to investigate the verbal communication ability of young children after experienced Psycho-Intellectual learning activity. The population used in this study. The children aged 5-6 years who are studying in the kindergarten to Year 2 Semester 2, academic year 2552 the network 6, Choom Bung district, under the Office of Basic Education Commission, Ratchaburi District 1.The subjects of this study, Wat Sungnernradsadonyindee School, the one of a classroom with 15 students, Which is derived by Cluster Random Sampling by way of a draw. The experimental group activity, learning, psycho- intelligence, a period of 8 weeks, 3 days per week.
Equipment used in this research is.
1. Equipment used in the experiment includes a plan for teaching and spiritual wisdom.
2. To collect information on your performance in the verbal communication with a confidence equal to 0.92 model used in the research, One-Group Pretest-Posttest Design and analyze data using statistical t-test for Dependent sample. The research show that the verbal communication ability of young children after experienced Psycho-Intellectual learning activity was at good level. Both in general and in each aspect especially meaning understanding were at excellence level. And higher than before experiment at level .01 significantly-differences.
Keyword: Communication, Verbal, Psycho-Intellectual