การพัฒนาระบบการจัดระดับคุณภาพกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

Authors

  • ธนานันต์ กุลไพบุตร, ไพศาล สุวรรณน้อย และทวิกา ตั้งประภา

Keywords:

การทดลองใช้ระบบ การจัดระดับคุณภาพ

Abstract

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อ  1)  พัฒนาองค์ประกอบ  ตัวบ่งชี้  เกณฑ์ในการจัดระดับคุณภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล  2) พัฒนาระบบการจัดระดับคุณภาพ  กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล  ขั้นตอนการวิจัยนี้มี  2  ระยะ  คือ  ระยะที่  1  การพัฒนาองค์ประกอบ  ตัวบ่งชี้  เกณฑ์ในการจัดระดับคุณภาพ  กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล  โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล  9  แห่งๆ ละ  16  คน  รวมเป็นจำนวน  144  คน  ใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเจาะจง  คือ  แบบประเมินความสอดคล้อง  และแบบสอบถามความเหมาะสมขององค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ เกณฑ์ในการจัดระดับคุณภาพ  กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล  ระยะที่  2  การพัฒนาระบบการจัดระดับคุณภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล  ผู้วิจัยได้พัฒนาคู่มือระบบการจัดระดับคุณภาพ  กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลฉบับร่าง  จากนั้นนำคู่มือฉบับร่าง  เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ  จำนวน  6  คน  เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา  (Content Validity)  ก่อนนำไปปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ  และทดลองใช้ระบบการจัดระดับคุณภาพ  กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 4 แห่ง ประกอบไปด้วย  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก  และ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ  ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ  ค่า Index of item objective congruence :  IOC,  ค่าเฉลี่ย ()  และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) 

  ผลการศึกษามีดังนี้  1)  การพัฒนาองค์ประกอบ  ตัวบ่งชี้  เกณฑ์ในการจัดระดับคุณภาพ  กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล  พบว่า  มี 11 องค์ประกอบ  35  ตัวบ่งชี้  จากการพิจารณาตัวบ่งชี้ ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  คือ  บัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำ / ประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี  ส่วนตัวบ่งชี้  ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  คือ  งบประมาณสนับสนุนจากศิษย์  2)  ผลการทดลองใช้ระบบการจัดระดับคุณภาพกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 4  แห่ง  ภาพรวมมีระบบการจัดระดับคุณภาพอยู่ในระดับดี ทำให้ทราบถึงข้อมูลสารสนเทศที่เป็นจุดแข็ง และจุดที่ควรพัฒนาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง  4  แห่ง  ซึ่งเป็นประโยชน์มากในการกำกับ  ตรวจสอบ  ติดตามคุณภาพของแต่ละมหาวิทยาลัย  และกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล  ก่อนมีการประเมินคุณภาพภายนอก  และการพัฒนาอัตลักษณ์ต่อไป

คำสำคัญ : การทดลองใช้ระบบ การจัดระดับคุณภาพ


Abstract

The objectives of this research study were: 1) to develop the factors, indicators, and criteria of quality rating for Rajamangala Universities of Technology, 2) to develop the system of quality rating for Rajamangala  Universities of Technology. The research process comprised of 2 phases. First, Phase I was developing of factors, indicators, and criteria of quality rating for Rajamangala Universities of Technology. Purposive sampling was used for selecting participants. The participants of the study were 16 administrators from 9 Rajamangala Universities of Technology, totaling 144 altogether. The research instrument was an evaluation form and a questionnaire. Second, Phase II was developing a manual of the quality rating system for Rajamangala Universities of Technology. A draft of the quality rating system manual for Rajamangala Universities of Technology was developed and verified for content validity by 6 specialists.  Next, the manual was revised and implemented in 4 Rajamangala Universities of Technology. They were: 1)  Rajamangala University of Technology Rattanakosin, 2) Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi, 3) Rajamangala University of Technology Technology Tawan-ok, and 4)  Rajamangala University of Technology Bangkok. Data analysis applied index of item objective congruence (IOC), mean ( ) , and standard deviation (SD)

Two major findings revealed: 1) there were 11 factors and 35 indicators for criteria of quality rating for Rajamangala Universities of Technology, of which the indicator with the highest average was Bachelor’s degree graduates could find jobs or have their independent career within one year, whereas the lowest mean was financial support from alumni; and 2) overall, the findings of the manual implementation were at good levels. In particular, the strengths of this quality rating system provided information and 3 areas for improvement of the 4 Rajamangala Universities of Technology. They were directing, examining, and monitoring the quality of those universities before the external quality assurance, as well as identity development.

Keywords: the system implementation, the quality rating

Downloads

How to Cite

ไพศาล สุวรรณน้อย และทวิกา ตั้งประภา ธ. ก. (2015). การพัฒนาระบบการจัดระดับคุณภาพกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 9(2), 233–244. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/29308

Issue

Section

Original Articles